พระมหาสมปอง กล่าวเชิญชวนทุกๆ ท่านมาร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ชื่อ ด ญ ศิขรินธาร คล้ายแก้ว เล่นๆ ปังปอนด์ นะ
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/1
อายุ 14 ปี เกิด 15/10/39
อยู่ โรงเรียน วัดหัวกระบือ นิสัย บ้า เหี้ย แต่ก็ รักเพื่อน ๆ นะ
E-mail : pondgan009@gmail.com
Powered By Blogger

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

มงคล 38 ประการ

ข้อที่ 1: ไม่คบคนพาลบาลี: อเสวนา จ พาลานํ (อะเสวะนา จะ พาลานัง)
พาล แปลว่า โง่เขลา อับปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ คนพาลคือคนโง่เขลา คนเกเรแม้คนมีปริญญาสูง ๆ แต่ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เรียกว่า คนพาล การไม่คบคนพาลจึงเป็นมงคล เพราะการคบคนพาลพาไปหาผิดและพาเราไปทำสิ่งไม่ดีไม่ร้ายกับตัวเรา การไม่คบคนพาลจึงทำให้พ้นจากโอกาสที่จะหลงเข้าสู่ความผิด นำมาซึ่งความสรรเสริญของคนทั่วไป และประสบความสุขความก้าวหน้าในชีวิต เป็นการตัดกำลังไม่ให้เชื้อคนพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุน

[แก้ไข] ข้อที่ 2: คบบัณฑิตบาลี: ปณฑิตานญฺจ เสวนา (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา)
บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ หมายถึง ผู้รู้ทัน และมีเหตุผล ในการกระทำ ในคำที่พูด และเรื่องที่คิด คบบัณฑิตเป็นมงคล เพราะได้ความรู้ ความปลอดภัย ความสรรเสริญ ความสุข เกียรติยศ ชื่อเสียง และชื่อว่าได้ทำความดีด้วย ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ง่าย ได้ชื่อว่ามี "กัลยาณมิตร"

[แก้ไข] ข้อที่ 3: บูชาบุคคลที่ควรบูชาบาลี: ปูชา จ ปูชนียานํ (ปูชา จะ ปูชะนียานัง)
บูชา คือ สักการะ เคารพ นับถือ ยำเกรง กราบไหว้ ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ การบูชาเป็นมงคล เพราะทำให้เราลดทิฏฐิมานะลงได้ ป้องกันความเห็นผิด และทำให้เราได้แบบอย่างที่ดีจากคนที่เราเคารพ เป็นการขจัดคนพาลให้พินาศไปโดยทางอ้อมและเป็นการเชิดชูบัณฑิตให้สูงเด่นยิ่งขึ้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้มี "กตัญญูกตเวที" อีกด้วย

[แก้ไข] ข้อที่ 4: อยู่ในถิ่นอันสมควรบาลี: ปฏิรูปเทสวาโส จ (ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ)
ปฏิรูป แปลว่า เหมาะสมหรือสมควร เทสะ แปลว่าสถานที่หรือท้องถิ่น ปฏิรูปเทสวาสะ คือการอยู่ในท้องถิ่นอันสมควร คืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความพร้อม การอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นมงคล เพราะการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมทำให้เป็นคนดี คนมีความรู้ถ้าอยู่ในถิ่นที่ไม่ต้องใช้วิชาความรู้ ความรู้นั้นก็หมดค่าไป และทำให้คนเรากล้าต่อการเผชิญกับปัญหา เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ ได้รับความสุขกาย สุขใจ มีความเจริญก้าวหน้า ทั้งทางโลกและทางธรรม

[แก้ไข] ข้อที่ 5: ทำบุญมาไว้ก่อนบาลี: ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา (ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา)
บุญ แปลว่า ความดี ความสุข สิ่งที่ชำระจิตใจ สิ่งที่ฟอกจิต การทำบุญไว้ก่อนเป็นมงคล เพราะการทำบุญเป็นการสร้างความดี ซึ่งมีระยะเวลายาวนานต้องอดทน เหมือนปลูกต้นไม้ยืนต้นจะต้องคอยผลไม้นั้นเป็นปี ๆ การทำบุญในอดีตส่งผลในปัจจุบัน การทำบุญในปัจจุบันส่งผลในปัจจุบันและอนาคต ผู้ทำความดีจึงต้องคิดว่าเป็นการสร้างฐานแห่งอนาคตไว้ฉะนั้น


เข้าใจมะ

[แก้ไข] ข้อที่ 6: ตั้งตนชอบบาลี: อตฺตสมฺมาปณิธิ จ (อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ)
อัตตะ หรือ ตน หมายถึงกายกับใจ การตั้งตนไว้ชอบคือการวางตัวในการดำรงชีพ หรือในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมั่นคง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีคุณภาพชีวิต การตั้งตนไว้ชอบเป็นมงคล เพราะเป็นการสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยแก่ตนเอง เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่น มีความก้าวหน้า เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ และได้รับสมบัติ 3 ประการคือ มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ

[แก้ไข] ข้อที่ 7: เป็นพหูสูตบาลี: พาหุสจฺจญฺจ (พาหุสัจจัญจะ)
พหู แปลว่ามาก สูต แปลว่าความเป็นผู้ได้สดับตรับฟัง ดังนั้นพหูสูต จึงหมายถึงความเป็นผู้รู้ ได้สดับตรับฟังมาก หรือความเป็นผู้คงแก่เรียน พหูสูตเป็นมงคล เพราะการฟังมาก (ในที่นี้รวมถึงผู้ที่รู้จากการอ่านด้วย) ย่อมเพิ่มวุฒิปัญญา เชาวน์ และไหวพริบ นำความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง ได้อ่าน ไปปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือตนเองหรือคนอื่นได้มาก และเป็นช่องทางนำความเจริญด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเจริญก้าวหน้ามาสู่ตน ไม่มีใครแย่งชิงได้ เป็นสหชาติปัญญา

[แก้ไข] ข้อที่ 8: รอบรู้ในศิลปะบาลี: สิปฺปญฺจ (สิปปัญจะ)
สิปปะ หรือ ศิลปะ หมายถึง วิชาชีพหรือความฉลาดในการใช้มือ ความมีศิลปะเป็นมงคล เพราะคนมีศิลปะจะช่วยตัวเองได้ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานะใด คนมีศิลปะย่อมเจริญก้าวหน้า ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และทำให้โลกเจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดังพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ที่ว่า "ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย"

[แก้ไข] ข้อที่ 9: มีวินัยที่ดีบาลี: วินโย จ สุสิกฺขิโต (วินะโย จะ สุสิกขิโต)
วินัย แปลว่า ข้อแนะนำ บทฝึกหัด ได้แก่ กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้ในสังคมนั้น ๆ มีวินัยเป็นมงคล เพราะวินัยเป็นตัวกำหนดให้เกิดความสามัคคี ความมีระเบียบสร้างความเข้มแข็งในกิจการงานต่าง ๆ ทำให้สังคมที่ดีดำรงอยู่

[แก้ไข] ข้อที่ 10: มีวาจาอันเป็นสุภาษิตบาลี: สุภาสิตา จ ยา วาจา (สุภาสิตา จะ ยา วาจา)
วาจา คือ คำพูด สุภาษิต คือพูดดี คำว่า วาจาสุภาษิตจึงหมายถึงพูดดี วาจาสุภาษิตเป็นมงคล เพราะคนที่พูดวาจาสุภาษิต จะบันดาลให้การงานทั้งปวงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม ได้รับความสำเร็จในเรื่องที่เจรจา

[แก้ไข] ข้อที่ 11: ดูแลบำรุงบิดามารดาบาลี: มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ (มาตาปิตุอุปัฏฐานัง)
มารดา แปลว่า ผู้รักษาบุตร ผู้เลี้ยงดูบุตร บิดา แปลว่า ผู้รักใคร่บุตร ผู้ให้สัตว์โลกยินดี การเลี้ยงดูมารดาเป็นมงคล เพราะเป็นการสืบต่อสังคมโดยอัตโนมัติ การบำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ มีความเจริญก้าวหน้า เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง

[แก้ไข] ข้อที่ 12: ดูแลสงเคราะห์บุตรบาลี: ปุตฺตสงฺคโห (ปุตตะสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห)
บุตร แบ่งตามคุณธรรม มี 3 ประเภท คือ 1. อภิชาตบุตร บุตรที่ยิ่งใหญ่กว่ามารดาบิดา 2. อนุชาตบุตร บุตรเสมอมารดาบิดา 3. อวชาตบุตร บุตรที่เลวกว่ามารดาบิดา บุตรทั้ง 3 ประเภทนี้มีอยู่ในทุกสังคม ตระกูลจะมั่นคงได้ บุตรจะต้องเป็นอภิชาตบุตร หรืออนุชาตบุตร ส่วนอวชาตบุตร เกิดมาเพื่อทำลายวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ การเลี้ยงดูบุตรเป็นมงคล เพราะบุตรเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของประเทศชาติ ถ้าเลี้ยงดูบุตรให้ดีได้รับการศึกษา ก็เท่ากับสร้างครอบครัวให้ดี ประเทศชาติจะเจริญมั่นคง การไม่ดูแลบุตรปล่อยให้เป็นจิ้งจอกสังคม มารสังคม เป็นนักเลง เป็นโจร เป็นคนไม่มีวินัย เป็นนักเลงหญิง นักเลงการพนัน เท่ากับว่าทำลายสังคมและประเทศชาติด้วย

[แก้ไข] ข้อที่ 13: ดูแลสงเคราะห์ภรรยา (สามี)บาลี: ทารสงฺคโห (ทาระสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห)
ทาระ แปลว่า เมีย ภรรยา แปลว่า ผู้ที่สามีต้องเลี้ยงดู คือเมีย พระพุทธศาสนา ได้กำหนดหลักการเลี้ยงดู หรือสงเคราะห์ภรรยาไว้ห้าประการ ได้แก่ การยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ให้ มอบเครื่องแต่งตัวตลอดถึงพาออกงานด้วย การเลี้ยงดูภรรยาเป็นมงคล เพราะทำให้ชีวิตครอบครัวมั่นคงยั่งยืนเป็นการร่วมกันสร้างฐานะให้มั่นคง การสงเคราะห์ภรรยาเป็นการสร้างความมั่นคงและมั่นใจให้แก่ภรรยา ครอบครัวมีความสงบสุข ได้รับการยกย่องสรรเสริญ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง

[แก้ไข] ข้อที่ 14: ทำการงานไม่ให้คั่งค้างบาลี: อนากุลา จ กมฺมนฺตา (อะนากุลา จะ กัมมันตา)
กรรม หรือการงาน แบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ งานทางโลกและงานทางธรรมงานทางโลก ได้แก่ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ค้าขาย บริการ รับราชการ เป็นต้น ส่วนงานทางธรรม ได้แก่ งานสร้างสันติสุขให้แก่โลก ลดละกิเลส ความเห็นแก่ตัว ความริษยา เป็นต้น ให้น้อยลง งานไม่คั่งค้างเป็นมงคล เพราะถ้าหากงานคั่งค้างแล้วย่อมไม่มีประโยชน์ไม่เห็นผล งานไม่คั่งค้างจะทำให้ฐานะของตน ครอบครัว และประเทศชาติเจริญขึ้นเพราะฉะนั้นงานที่ทำเสร็จเห็นผลงานจึงเป็นมงคล

[แก้ไข] ข้อที่ 15: ให้ทานบาลี: ทานญฺจ (ทานัญจะ)
ทาน แปลว่า ให้ และเป็นการให้ด้วยเจตนาอยากให้ ทานมี 2 อย่างคือ อามิสทาน ให้วัตถุสิ่งของ เช่น ปัจจัย 4 ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น และธรรมทาน ให้สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ให้คำแนะนำสั่งสอน ให้อภัย เป็นต้น การให้ทานเป็นมงคล เพราะเป็นการฝึกใจให้เป็นนักเสียสละ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว ถ้าต่างคนต่างมุ่งหวังให้ทาน ความเห็นแก่ตัวจะลดลง การทุจริตจะลดลง ทำให้มีชื่อเสียงในสังคม แม้ตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์

[แก้ไข] ข้อที่ 16: ปฏิบัติธรรมบาลี: ธมฺมจริยา จ (ธัมมะจะริยา จะ)
ธรรม คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก จริยา แปลว่าประพฤติ ธรรมจริยา จึงหมายถึง การประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระสาวก การประพฤติธรรมเป็นมงคล เพราะเป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ผู้ประพฤติธรรมมีแต่ความสุข (ธมฺมจารี สุขํ เสติ) ผู้ประพฤติธรรมได้ชื่อว่าสอนคนอื่นด้วยการประพฤติตลอดเวลา สร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและส่วนรวมเป็นผู้สร้างทางสวรรค์เอาไว้

[แก้ไข] ข้อที่ 17: ช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติ/พี่น้องบาลี: ญาตกานญฺจ สงฺคโห (ญาตะกา นัญจะ สังคะโห) การสงเคราะห์ญาติคือ เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้องควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี หากถึงที เราจน ญาติสนใจ

[แก้ไข] ข้อที่ 18: ทำงานที่ไม่มีโทษบาลี: อนวชฺชานิ กมฺมานิ (อะนะวัชชานิ กัมมานิ) ทำงานที่ไม่มีโทษ คือ งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิดหากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใสเมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไปได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน งานที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

1.ไม่ผิดกฎหมาย คือทำให้ถูกต้องตามกฎหมายของบ้านเมือง
2.ไม่ผิดประเพณี คือแบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ควรดำเนินตาม
3.ไม่ผิดศีล คือข้อห้ามที่บัญญัติไว้ในศีล 5
4.ไม่ผิดธรรม คือหลักธรรมทั้งหลายอาทิเช่น การพนัน การหลอกลวง
[แก้ไข] ข้อที่ 19: ละเว้นการทำบาปบาลี: อารตี วิรตี ปาปา (อาระตี วิระตี ปาปา) บาปคือสิ่งที่ไม่ดี เสีย ความชั่วที่ติดตัว ซึ่งไม่ควรทำ ท่านว่าสิ่งที่ทำแล้วถือว่าเป็นบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 คือ

1.ฆ่าสัตว์
2.ลักทรัพย์
3.ประพฤติผิดในกาม
4.พูดเท็จ
5.พูดส่อเสียด
6.พูดคำหยาบ
7.พูดเพ้อเจ้อ
8.โลภอยากได้ของเขา
9.คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น
10.เห็นผิดเป็นชอบ
[แก้ไข] ข้อที่ 20: สำรวมจากการดื่มน้ำเมาบาลี: มชฺชปานา จ สญฺญโม (มัชชะปานา จะ สัญญะโม) ว่าด้วยเรื่องของน้ำเมานั้น อาจทำมาจากแป้ง ข้าวสุก การปรุงโดยผสมเชื้อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่มแล้วทำให้มึนเมา เช่นเบียร์ ไวน์ ไม่ใช่แค่เหล้าเท่านั้น ล้วนมีโทษอันได้แก่

1.ทำให้เสียทรัพย์ เพราะต้องนำเงินไปซื้อหา ทั้ง ๆ ที่เงินจำนวนเดียวกันนี้ สามารถนำเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า
2.ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนำไปสู่ความวุ่นวาย เจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ เพราะน้ำเมาทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ
3.ทำให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มสุราล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกายจนถึงตายได้เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน
4.ทำให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทำเรื่องไม่ดีเข้าเช่นไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทำให้วงศ์ตระกูล และหน้าที่การงานเสี่อมเสีย
[แก้ไข] ข้อที่ 21: ไม่ดำรงตนอยู่ในความประมาทบาลี: อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ (อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ) ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน ธรรมในที่นี้ก็คือ หลักปฏิบัติที่ทำแล้วมีผลในทางดี และเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงโปรดแนะทางไว้ คนที่ประมาทในธรรมนั้นมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้คือ

1.ไม่ทำเหตุดี แต่จะเอาผลดี
2.ทำตัวเลว แต่จะเอาผลดี
3.ทำย่อหย่อน แต่จะเอาผลมาก
[แก้ไข] ข้อที่ 22: มีความเคารพในบุคคลที่ควรเคารพบาลี: คารโว จ (คาระโว จะ) ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์ ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง ท่านได้กล่าวว่าสิ่งที่ควรเคารพมีอยู่ดังนี้

1.พระพุทธเจ้า
2.พระธรรม
3.พระสงฆ์
4.การศึกษา
5.ความไม่ประมาท คือการดำเนินตามหลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนาอื่น ๆ ด้วยความเคารพ
6.การสนทนาปราศรัย คือการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนด้วยความเคารพ
[แก้ไข] ข้อที่ 23: มีความถ่อมตนบาลี: นิวาโต จ (นิวาโต จะ) ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วแข็ง เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด การไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม ท่านว่าไว้ว่าโทษของการอวดดีนั้นมีอยู่ดังนี้คือ

1.ทำให้เสียคน คือไม่สามารถกลับมาอยู่ในร่องในรอยได้เหมือนเดิม เสียอนาคต
2.ทำให้เสียมิตร คือไม่มีใครคบหาเป็นเพื่อนด้วย ถึงจะมีก็ไม่ใช่เพื่อนแท้
[แก้ไข] ข้อที่ 24: มีความสันโดษบาลี: สนฺตุฏฺฐี จ (สันตุฏฺะฐี จะ) ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี คำว่าสันโดษไม่ได้หมายถึงการอยู่ลำพังคนเดียวอย่างเดียวก็หาไม่ แต่หมายถึงการพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ในของของตัว ซึ่งท่านได้ให้นิยามที่เป็นลักษณะของความสันโดษเป็นดังนี้ คือ

1.ยถาลาภสันโดษ หมายถึงความยินดีตามมีตามเกิด คือมีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น เป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะพอใจ ไม่คิดน้อยเนื้อต่ำใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่
2.ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกำลัง เรามีกำลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น ตั้งแต่กำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังบารมี หรือกำลังความสามารถเป็นต้น
[แก้ไข] ข้อที่ 25: มีความกตัญญูบาลี: กตญฺญุตา (กะตัญญุตา) คือ การรู้คุณ และตอบแทนท่านผู้นั้น บุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน แต่หมายถึงการรำลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่ง ท่านว่าสิ่งของหรือผู้ที่ควรกตัญญูนั้นมีดังนี้

1.กตัญญูต่อบุคคล บุคคลที่ควรกตัญญูก็คือ ใครก็ตามที่มีบุญคุณควรระลึกถึงและตอบแทนพระคุณ เช่น บิดา มารดา อาจารย์ เป็นต้น
2.กตัญญูต่อสัตว์ ได้แก่สัตว์ที่มีคุณต่อเราช่วยทำงานให้เรา เราก็ควรเลี้ยงดูให้ดีเช่นช้าง ม้า วัว ควาย หรือสุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้าน เป็นต้น
[แก้ไข] ข้อที่ 26: ฟังธรรมตามกาลบาลี: กาเลน ธมฺมสฺสวนํ (กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง) เมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสำคัญต่าง ๆ ก็ควรต้องไปฟังธรรมบ้าง เพื่อสดับตรับฟัง สิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้น ๆ และนำมาใช้กับชีวิตเรา เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ท่านว่าเวลาที่ควรไปฟังธรรมนั้นมีดังนี้คือ

1.วันธรรมสวนะ ก็คือวันพระ หรือวันที่สำคัญทางศาสนา
2.เมื่อมีผู้มาแสดงธรรม ก็อย่างเช่น การฟังธรรมตามวิทยุ การที่มีพระมาแสดงธรรมตามสถานที่ต่าง ๆ หรือการอ่านจากสื่อต่าง ๆ
3.เมื่อมีโอกาสอันสมควร อาทิเช่นในวันอาทิตย์เมื่อมีเวลาว่าง หรือในงานมงคล งานบวช งานกฐิน งานวัดเป็นต้น
[แก้ไข] ข้อที่ 27: มีความอดทนบาลี: ขนฺตี จ (ขันตี จะ) ท่านว่าลักษณะของความอดทนนั้นสามารถจำแนกออกได้เป็นดังต่อไปนี้คือ

1.ความอดทนต่อความลำบาก คือความลำบากที่ต้องประสพตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อมเป็นต้น
2.ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง เช่นความไม่สบายกายเป็นต้น
3.ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือการที่คนอื่นทำให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจาให้เจ็บช้ำใจ ไม่เป็นอย่างที่หวังเป็นต้น
4.ความอดทนต่ออำนาจกิเลส คือสิ่งยั่วยวนทั้งหลายถือเป็นกิเลสทั้งทางใจและทางกายอาทิเช่น ความนึกโลภอยากได้ของเขา หรือการพ่ายแพ้ต่ออำนาจเงินเป็นต้น
[แก้ไข] ข้อที่ 28: เป็นผู้ว่าง่ายบาลี: โสวจสฺสตา (โสวะจัสสะตา) ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา ท่านว่าผู้ว่าง่ายนั้นมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้คือ

1.ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน คือการรับฟังด้วยดี ไม่ใช่แก้ตัวแล้วปิดประตูความคิดไม่รับฟัง
2.ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการเตือน คือการนำคำตักเตือนนั้นมาพิจารณาและแก้ไขข้อบกพร่องนั้น ๆ
3.ไม่จับผิดผู้ว่ากล่าวสั่งสอน คือการที่ผู้สอนอาจจะมีความผิดพลาด เนื่องจากความประมาท เราควรให้อภัยต่อผู้สอน เพราะการจับผิดทำให้ผู้สอนต้องอับอายขายหน้าได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม
[แก้ไข] ข้อที่ 29: ได้เห็นสมณะบาลี: สมณานญฺจ ทสฺสนํ (สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง) คำว่าสมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ) ท่านว่าคุณสมบัติของสมณะต้องประกอบไปด้วย 3 อย่างคือ

1.ต้องสงบกาย คือมีความสำรวมในการกระทำทุกอย่าง รวมถึงกิริยา มรรยาท ตามหลักศีลธรรม
2.ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี มีความสุภาพสงบเสงี่ยมในคำพูดและภาษาที่ใช้ เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี
3.ต้องสงบใจ คือการทำใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงำ ไม่ว่าจะเป็น โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใด ๆ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา
[แก้ไข] ข้อที่ 30: สนทนาธรรมตามกาลบาลี: กาเลน ธมฺมสากจฺฉา (กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา) การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ

1.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
2.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
3.ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
4.ต้องพูดด้วยความเมตตา
5.ต้องไม่พูดจาโอ้อวด หรือยกตนข่มท่าน
[แก้ไข] ข้อที่ 31: บำเพ็ญตบะบาลี: ตโป จ (ตะโป จะ) ตบะ โดยความหมายแปลว่า ทำให้ร้อน ไม่ว่าด้วยวิธีใด การบำเพ็ญตบะหมายความถึงการทำให้กิเลส ความรุ่มร้อนต่าง ๆ หมดไป หรือเบาบางลง ลักษณะการบำเพ็ญตบะมีดังนี้

1.การมีใจสำรวมในอินทรีย์ทั้ง 6 (อายตนะภายใน 6 อย่าง) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้หลง ติดอยู่กับสัมผัสภายนอกมากเกินไป ไม่ให้กิเลสครอบงำใจเวลาที่รับรู้อารมณ์ผ่านอินทรีย์ทั้ง 6 (อินทรีย์สังวร)
2.การประพฤติรักษาพรหมจรรย์ เว้นจากการร่วมประเวณี หรือกามกิจทั้งปวง
[แก้ไข] ข้อที่ 32: ประพฤติพรหมจรรย์บาลี: พฺรหฺมจริยญฺจ (พรัหมะจะริยัญจะ) คำว่าพรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ ท่านว่าลักษณะของธรรมที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่ดังนี้คือ

1.ให้ทาน บริจาคทานไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง หรือปัญญา
2.ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย)
3.รักษาศีล 5 คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ทำผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา (เบญจศีล)
[แก้ไข] ข้อที่ 33: เห็นอริยสัจบาลี: อริยสจฺจานทสฺสน (อะริยะสัจจานะทัสสะนะ) อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่ 4 ประการตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้มีดังนี้

1.ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเป็นจริงของสัตว์โลกทุกผู้ทุกนามต้องมีทุกข์
2.สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
3.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ความหลุดพ้น หรือหมายถึงภาวะของพระนิพพานนั่นเอง
4.มรรค คือข้อปฏิบัติ หรือหนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์
[แก้ไข] ข้อที่ 34: ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานบาลี: นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ (นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ) ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์ ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ ท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี 8 ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่องระลึก ดังจะนำมา เขียนไว้เพื่อเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการระลึก

[แก้ไข] ข้อที่ 35: มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมบาลี: ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปต (ผุฏฺฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะตะ) คำว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิดหวั่นไหวต่อสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี 4 ประการคือ

1.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา
2.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น
3.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา
4.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย
[แก้ไข] ข้อที่ 36: มีจิตไม่เศร้าโศกบาลี: อโสกํ (อะโสกัง) คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่ มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง ท่านว่ามีเหตุอยู่ 5 ประการที่ทำให้จิตเราต้องโศกเศร้าคือ

1.ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก
2.ความโศกเศร้าที่เกิดจากความใคร่
3.ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนือง ๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา
4.ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา
5.ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น
[แก้ไข] ข้อที่ 37: มีจิตปราศจากกิเลสบาลี: วิรชํ (วิระชัง)

ธุลี คือ กิเลส(สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ย่อมไม่ติดอยู่ในจิตที่ฝึกดีแล้ว เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว)
จิตทีฝึกฝนดีแล้วย่อมหลุดพ้นไม่พัวพันอยู่กับกิเลสทั้งปวง เป็นจิตที่ปลอดโปร่งเป็นอิสรเสรีและมีศักยภาพสูงสุด เป็นจิตที่นำเอาความสงบร่มเย็นที่ยั่งยืนมาสู่โลก

[แก้ไข] ข้อที่ 38: มีจิตเกษมบาลี: เขมํ (เขมัง) เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข มีจิดเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุขในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็นเครื่องผูกอยู่ 4 ประการคือ

1.การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ
2.การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ
3.การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ
4.การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้ทั้งหลาย
[แก้ไข] ปฐมเหตุของมงคลชีวิตประมาณ 12 ปีก่อนพุทธกาล ประชาชนต่างตื่นตัวว่า อะไรคือเหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นมงคล บ้างก็ว่า การมีสิ่งของ เช่นต้นไม้ สัตว์ หรือว่ารูปเคารพต่าง ๆ จะทำให้ชีวิตเป็นมงคล เรื่องราวการอภิปรายเรื่องมงคล ก็ไปถึงภุมเทวา คือเทวาดาในระดับพื้นดิน เทวดาก็สนทนากันว่าอะไรคือมงคล ประเด็นนี้ก็ลุกลามไปถึงอากาศเทวา ไปถึงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนถึงพรหมโลกชั้นสูธาวาส ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ของมนุษย์ที่บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว มีความเข้าใจในเรื่องมงคลชีวิตเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถอธิบายได้ จึงได้ประกาศให้เทวดาทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมในอีก 12 ปี ให้ไปถามพระพุทธองค์ในตอนนั้น

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคล ซึ่งมีทั้งหมด 38 ประการ

มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรมไว้ชัดเจนดีแล้ว ก็มีผู้ที่เชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง จึงได้ส่งผลมาถึงปัจจุบันนี้ แนวทางการยึดถือความเป็นมงคล จึงมีอยู่ 2 แนวทาง คือ

1.มงคลจากการมี "มงคลมี" -ยึดถือเอาว่า การมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นมงคล ซึ่งแต่ละที่แต่ละสมัยก็ยึดถือต่างๆ กันไป ไม่มีอะไรแน่นอน ของบางอย่าง บางที่ถือเป็นมงคล บางที่อาจถือว่าเป็นอัปมงคลก็ได้
2.มงคลจากการฝึกตัว "มงคลทำ" -ยึดถือเอาการปฏิบัติฝึกฝนตนเองเป็นเกณฑ์ เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใดปฏิบัติตามแล้วย่อมได้ผลแน่นอน