พระมหาสมปอง กล่าวเชิญชวนทุกๆ ท่านมาร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ชื่อ ด ญ ศิขรินธาร คล้ายแก้ว เล่นๆ ปังปอนด์ นะ
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/1
อายุ 14 ปี เกิด 15/10/39
อยู่ โรงเรียน วัดหัวกระบือ นิสัย บ้า เหี้ย แต่ก็ รักเพื่อน ๆ นะ
E-mail : pondgan009@gmail.com
Powered By Blogger

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ต้นราชพฤกษ์ [ คูน ]


ราชพฤกษ์ หรือ คูน (อังกฤษ: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้

ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก
ชื่อ

ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ หรือ ลักเคย ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะ

สรรพคุณ

ส่วนต่างๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้

ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้[1] ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย
ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้
ดอก แก้แผลเรื้อรัง

ความเชื่อ

คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น[2]

คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม[3] ตกลงว่าน้ำต้มจากเนือในฝักคูนที่แก่ สามารถดื่มได้ก่อนนอนหรือก่อนอาหารเข้า วันละครี่งแก้วได้ทุกวันหรือไม่ค่ะ เพราะตนเองท้องผูกประจำ ลองต้มเองแล้วดื่มมา 12 วันติดกันก่อนนอน ได้ผลดีเกินคาดค่ะ ในหน้านี้ไม่ได้บอกไว้ว่าก่อนอาหารมื้อไหนแต่เคยอ่านเจอ คิดว่าน่าจะเป็นก่อนอาหารเช้า

ต้นไผ่


ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).

ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

ไผ่ในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้[1]

ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile )
ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa)
ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta)
ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus)
ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus)
ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus)
ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus )
ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe)
ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii)
ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans)
ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii)
ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda)
ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha)
ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica)
ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos)
ไผ่เป๊าะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus giganteus)
ไผ่ผาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa densa)
ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla)
ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis)
ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri)
ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata)
ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar)
ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex)
ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.)
ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana)
ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii)
ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis)
ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha)
ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris)
ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum)

ต้นปาล์ม


ปาล์ม (ชื่อสามัญ palm ; ชื่อวิทยาศาสตร์ Palmae หรือ Arecacae ) นับเป็นพืชวงศ์ใหญ่ที่สุด (รองจากหญ้า) ทั้งในแง่จำนวนของชนิด และปริมาณที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จำแนกได้กว่า 210 สกุล และราว 3,800 ชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่แยกกิ่งก้านสาขา

พืชจำพวกปาล์มนี้มีร่องรอยในซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ถึงประมาณ 80 ล้านปีมาแล้ว ปัจจุบันนี้เราพบปาล์มได้ในหลากหลายพื้นทั่วโลก อันเนื่องจากปาล์มสามารถเติบโตในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนก็ตาม แต่ปาล์มสามารถเติบโตได้ตั้งแต่ละติจูด 30 องศาเหนือ ลงมาจนถึงละติจูด 30 องศาใต้

ปาล์มที่พบในเขตเหนือสุด คือปาล์มพัดยุโรป (Chamaerops humilis) ซึ่งเติบโตในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาตอนเหนือ ส่วนปาล์มที่พบตอนใต้สุด คือปาล์มนิเกา (Rhopalostylis sapida) ที่พบในนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแชแธม

ปาล์มก็ยังเติบโตบนพื้นที่สูงถึง 3,000 เมตร (บนเทือกเขาแอนดีส) ส่วนที่แห้งแล้งอย่างทะเลทราย (อินทผลัม) และที่ชื้นแฉะ ก็ยังเป็นที่อาศัยส่วนใหญ่ของปาล์มหลากหลายชนิด (เช่น จาก ชิด สาคู)

กายวิภาคของปาล์ม

ปาล์มส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด กล่าวคือลำต้นเป็นข้อ มีใบบนยอดเพียงที่เดียว ไม่แตกกิ่งก้าน มีก้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน แต่ก็ไปรวมกลุ่มกันที่ปลายก้านที่เดียว อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่ไม่ได้มีลำต้นสูงพ้นดิน แต่ก็มีลักษณะใบแบบปาล์ม ทำให้สังเกตได้ไม่ยากนัก ทยาย

ลำต้น

ปาล์มส่วนมากมีลักษณะลำต้นเดี่ยว งอกขึ้นจากพื้นต้นเดียว ไม่แตกหน่อ หรือแตกกิ่ง เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมัน ตาล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่มีลำต้นเดียวแต่มีการแตกกอขึ้นในที่ใกล้กัน จึงปรากฏเป็นกอใหญ่ เช่น หมากแดง หมากเหลือง ปาล์มไผ่ ส่วนปาล์มที่มีขนาดลำต้นเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

นอกจากลักษณะเด่นทั้งสองแล้ว ยังมีลำต้นที่แตกกิ่ง เช่น ปาล์มกิ่ง (Hyphaene thebaica) นับว่ามีลักษณะที่โดดเด่นจากปาล์มชนิดอื่นๆ มากทีเดียว ส่วนปาล์มที่มีขนาดเล็กจะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ระกำ หรือลำต้นทอดไปตามพื้นดิน เช่น จาก และลำต้นเป็นเถาเลื้อย ได้แก่ หวายทุกชนิด

ปาล์มส่วนใหญ่จะมีต้นสูง สามารถแบ่งเป็นสามส่วน คือ เรือนยอด (crown) ตั้งแต่ก้านใบขึ้นไป, คอยอด (Crownshaft) อยู่ระหว่างลำต้น และพุ่มใบ, และส่วนลำต้น (trunk) ตั้งแต่โคนขึ้นมาจนถึงคอ

ข้อหรือวงแหวนรอบลำต้นนั้น นับเป็นจุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งของปาล์มทีเดียว ซึ่งเกิดจากการร่วงหลุดของก้านใบนั่นเอง บางชนิดเมื่อร่วงแล้วลำต้นเกลี้ยง บางชนิดแม้ใบจะเหี่ยว แต่ก้านใบก็ไม่หลุดเสียเลยทีเดียว

ปาล์มบางสกุลมีลำต้นที่อ้วนป่องตรงกลาง (ปาล์มขวด,ปาล์มแชมเปญ) มีการสะสมน้ำไว้ในลำต้นขณะที่ปาล์มขนาดเล็กบางชนิดมีรกพันที่ลำต้น (จั๋ง, เคราฤๅษี

ใบ

ลักษณะใบของปาล์ม ถือเป็นจุดเด่น และว่าเป็นข้อสังเกตที่สำคัญ เพราะในของปาล์มนั้นเป็นใบประกอบ มีก้านใบที่ยาว และมีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอด แล้วคลี่ขยายออกมาออกมา จำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนนก และใบรูปพัด หรือฝ่ามือ

ใบรูปขนนก (Pinnate) มีก้านใบเป็นแกนกลาง และมีใบย่อยเรียงสองข้าง ที่เห็นชัดก็ได้แก่ มะพร้าว หมาก ปาล์มขวด นอกจากนี้ยังมีใบของเต่าร้าง ที่เป็นรูปขนนกสองชั้น และใบปาล์มหางกระรอก เป็นใบพวง
ใบรูปพัดหรือรูปฝ่ามือ (fan leaf, palmate leaf) กล่าวกันว่า ชื่อของปาล์ม (palm) ก็มาจากลักษณะที่คล้ายกับฝ่ามือ (palm) นั่นเอง ใบรูปพัด มีลักษณะคล้ายพัดจีน มีใบย่อยแตกออกจากจุดปลายของก้านใบในรัศมีวงกลม แผ่ออกไป ติดกันบ้าง แยกกันบ้าง เช่น ใบตาล ลาน ปาล์มพัด เป็นต้น
มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากใบของพืชจำพวกปาล์มมาช้านาน ที่รู้จักกันดีก็คือใบจาก ใช้มุมหลังคา ห่อขนม (ขนมจาก) ขณะที่ในชนบท ยังนิยมใช้ใบจากมวนยาเส้นใช้สูบ ส่วนมะพร้าวนั้นใบค่อนข้างแคบ นำมาตัดเป็นแถวสั้นๆ คาดห่อใบตอง อย่างห่อหมก ขนมสอดไส้ เป็นต้น เมื่อเลาะใบออก เหลือก้านใบ สีเหลืองตัดเป็นท่อนสั้นๆ ใช้เป็นไม้กลัด หรือนำก้านยาวๆ มามัดรวมกันเป็นไม้กวาดก้านมะพร้าว

ใบของกะพ้อ มีลักษณะคลี่บานเหมือนพัด คลี่ออกแล้วห่อขนมได้ ส่วนใบลานนั้น เหนียวและหนาพอที่จะใช้จารอักษรโดยเฉพาะ คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาได้ และยังเก็บได้เป็นเวลานานนับร้อนๆ ปี นอกจากนี้ยังใช้ทำงานจักสานได้ด้วย

ผล

ผลของพืชจำพวกปาล์มโดยมากมีเปลือกแข็ง มีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่เล็กมาก เช่น หวาย จนถึงขนาดปานกลาง เช่น หมาก อินทผลัม และขนาดใหญ่ อย่างมะพร้าว หรือมะพร้าวแฝด ผลปาล์มหลายชนิดรับประทานได้ ที่รู้จักกันดี ก็คือ ตาล จาก ชิด สละ ระกำ มะพร้าว หมาก (ใช้เคี้ยว) ปาล์มที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุด คือมะพร้าวแฝด (coco-de-mer)

ลักษณะผลของปาล์มส่วนใหญ่มีความคล้ายกัน บางชนิดก็มีผลเล็กมาก ออกเป็นช่อ เป็นทะลายเช่นเดียวกับหมากและมะพร้าว ส่วนเปลือกของผลระกำและสละนั้นบางมาก เปลือกนอกของปาล์มหลายชนิดเป็นเส้นใยเกาะตัวหนาแน่น ผลปาล์มส่วนใหญ่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์เป็นอย่างยิ่ง หลายชนิดมีเปลือกนอกที่เบา มีเส้นใยเกาะหนา ลอยน้ำได้ บางชนิดมีเปลือกบาง เป็นอาหารของสัตว์ป่า เมื่อคายหรือขับถ่ายเมล็ดออก ก็จะงอกงามได้ต่อไป

ดอก

จั่น หรือ ดอก ของพืชในวงศ์ปาล์มไม่ได้มีกลิ่นหอม ไม่มีกลีบดอกสวยงาม โดยมากเป็นดอกขนาดเล็ก และแข็ง ดอกของปาล์มนั้นประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3-6 อัน หรือมากกว่า เกสรตัวเมียมีรังไข่ 1-3 อัน ดอกของปาล์ม ออกเป็นช่อเป็นพวง ช่อดอกที่ยังอ่อนของปาล์มหลายชนิด เมื่อปาดส่วนปลายออก จะได้น้ำหวาน ทำน้ำตาลสด น้ำตาลปึก และน้ำตาลเมา ได้

ปาล์มส่วนใหญ่จะออกดอกเป็นระยะเรื่อยไปตลอดอายุขัย แต่มีปาล์มบางชนิดออกดอกครั้งเดียวเท่านั้น ทว่ากว่าจะออกดอกนั้นใช้เวลานานมาก เมื่อออกดอกและให้ผลแล้วต้นก็จะตายไป เนื่องจากใช้อาหารที่สะสมในลำต้นจนหมด ปาล์มที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ สาคู

ปัจจุบันมีความนิยมปลูกปาล์มเป็นไม้ประดับมากขึ้น ผู้ที่สนใจศึกษาปาล์มชนิดต่างๆ สามารถชมได้ที่สวนแสนปาล์ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ต้นมะพร้าว


มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็น
ไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล

ลักษณะทั่วไป

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด

ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น

รายชื่อพันธุ์มะพร้าว


มะพร้าวไฟ
มะพร้าวน้ำหอม
มะพร้าวทะเล
มะพร้าวซอ
มะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย

ประโยชน์

มะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น[ต้องการอ้างอิง]

ในผลมะพร้าวอ่อนจะมีน้ำอยู่ภายใน เรียกว่าน้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้
น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
เนื้อในของมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
กากที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้
ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า 'สลัดเจ้าสัว' (millionaire's salad)
ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
ก้านใบ หรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล
จาวมะพร้าวใช้นำมาเป็นอาหารได้ ในจาวมะพร้าวมีฮอร์โมนออกซิน และฮอร์โมนอื่นๆแต่ มี ฮอร์โมนออกซินปริมาณมากที่สุด ซึ่งเมื่อนำไปคั้น และนำน้ำที่ได้จากจาวมะพร้าว ไปรดต้นพืช จะช่ยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้
น้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวใช้ถ่ายพยาธิได้
เปลือกหุ้มรากมะพร้าวใช้รักษาโรคคอตีบได้
น้ำมันจากกะลามะพร้าวใช้รักษาโรคผิวหนังได้

วิธีลดภาวะโลกร้อน


การลดภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันทำ เราทุกคนก็ต่างมีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะเพียงแค่เราหายใจอยู่เฉยๆก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาแล้ว ยังไม่รวมถึงกิจกรรมต่างๆมากมายที่เราทำอยู่ทุกๆวัน ถึงเวลาที่เราต้องเลิกคิดว่าภาวะโลกร้อนไม่ใช่ธุระของเรา แล้วหันมาร่วมมือกัน..มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อนกันเถอะ

ถ้าท่านคิดว่าการลดภาวะโลกร้อนนั้นมันทำได้ยาก หรือคิดว่าท่านคนเดียวช่วยโลกไม่ได้ หรือว่าจะทำตอนนี้มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นแล้ว ท่านกำลังคิดผิด!! ทุกอย่างที่เราทำจะส่งผลดีต่อโลก และมันยังมีเวลาอยู่ ถ้าไม่เริ่มที่ตัวเราก่อนก็ไม่รู้จะให้ไปเริ่มจากตรงไหน แค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของเราทำอยู่ในวันๆหนึ่ง ก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว ผมจะยกตัวอย่างให้ดูซัก 10 ข้อ ผมเชื่อว่ามันใกล้ตัวทุกท่านมาก และสามารถลงมือทำได้เลยด้วยซ้ำ

1. ปรับ Desktop Wallpaper ของท่านให้เป็นสำเข้ม ยิ่งเป็นสีดำเลยยิ่งดี เพราะว่ามันจะประหยัดไฟมากกว่า รวมไปถึง Screen Saver ก็ให้ตั้ง Blank ไว้ มันจะเป็นหน้าจอดำสนิท ปิดคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน เช่น ตอนพักเที่ยง และตอนกลับบ้าน

2. พกผ้าเช็ดหน้า แทนที่จะใช้กระดาษทิชชู สมัยนี้มีกระดาษทิชชูห่อสวยๆพกง่ายๆออกมา หลายคนใช้มันแทนผ้าเช็ดหน้า เพราะว่ามันสะดวกและห่อมันก็น่ารักด้วย แต่กระดาษทิชชูผลิตมาจากต้นไม้ ยิ่งใช้มากก็ยิ่งต้องตัดมาก ถ้าไม่จำเป็นก็ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าดีกว่าครับ เก็บต้นไม้ไว้เป็นปอดให้กับโลกเราบ้างเถอะนะ

3. การชาร์ตแบตมือถือ การชาร์ตแบตมือถือของคนทั่วๆไปเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 95% เพราะว่ามักจะเสียบสายค้างไว้ทั้งๆที่แบตเต็มแล้ว ท่านรู้ไหมว่าถึงแบตจะเต็มแล้วแต่ว่าถ้าไม่ถอดออกมันก็จะยังกินไฟอยู่ ฉะนั้นเวลาแบตเต็มแล้วก็ให้ถอดสายออก แต่ถ้ายังเสียบหม้อแปลงกับเต้าเสียบค้างไว้มันก็ยังกินไฟอยู่ดี เพราะฉะนั้นก็ให้ถอดออกให้หมด

4. ประหยัดน้ำ อย่าใช้น้ำแบบสิ้นเปลือง ถ้ามีโอกาสได้เปลี่ยนก๊อกที่บ้าน ก็ให้ใช้ก๊อกน้ำแบบเพิ่มฟองอากาศ น้ำที่ไหลออกมาจะมีฟองอากาศออกมาด้วยทำให้ดูเหมือนมีน้ำเยอะ แต่จะประหยัดกว่าก๊อกธรรมดาถึงครึ่งหนึ่ง ถ้านึกไม่ออกให้ดูห้องน้ำตามห้าง น้ำที่ไหลออกมาจะเป็นแบบนั้น และเวลาใช้น้ำที่อื่นที่ไม่ใช่บ้านเราก็ควรจะประหยัดด้วย ไม่ใช่คิดว่าของฟรี หรือเวลาไปพักตามโรงแรมก็อย่าคิดว่าใช้ให้คุ้ม เพราะว่าทำแบบนี้แหละโลกถึงร้อน

5. ประหยัดไฟ ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้และถอดปลั๊กด้วย รวมไปถึงหลอดไฟด้วย ถ้ามีโอกาสก็เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟ CFL ซะ ที่มันเป็นเกลียวๆ ถึงหลอดพวกนี้จะแพงกว่า แต่ก็ประหยัดไฟกว่ามาก แถมอายุการใช้งานก็ยาวกว่าเยอะ ซึ่งในระยะยาวก็จะคุ้มกว่าแน่นอน

6. ลดใช้ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกทำให้เราสะดวกขึ้นก็จริง แต่มันเป็นภัยต่อโลกอย่างมากมาย กว่าถุงที่เราใช้จะย่อยสลายไป ตัวเรานั้นย่อยสลายก่อนมันไปนานแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ แต่ถ้าต้องใช้จริงๆก็ให้เก็บไว้เพื่อนำไปใช้ครั้งต่อไปได้อีก เวลาจ่ายตลาดก็ให้ใช้ถุงผ้าแทน ถุงผ้าสวยๆก็มีออกมาขายกันเยอะแยะ

7. ลดอาหารแช่แข็ง อาหารแช่แข็งตอนนี้กำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ และก็เห็นมีคนนิยมบริโภคมากขึ้นเหมือนกัน แต่ท่านรู้ไหมว่าขั้นตอนการผลิตนั้นทำให้สิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก เพราะว่ากล่องที่ใส่ก็เป็นพลาสติก ขั้นตอนในการขนส่งก็ต้องเก็บไว้ในที่เย็นตลอดเวลา รวมไปถึงตอนที่อยู่ในร้านด้วย แม้กระทั่งตอนจะกินยังต้องใช้พลังงานในการอุ่นอีก เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นก็อย่ากินเลยครับ มันสิ้นเปลืองพลังงาน กินของสดอร่อยกว่าอีก

8. ใช้จักรยาน เวลาที่ท่านไปทำธุระใกล้ๆบ้าน อาจจะไปซื้อของ จ่ายตลาด นอกจากจะประหยัดน้ำมันในยุคที่น้ำมันแพงแล้ว ยังช่วยให้ท่านได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ไม่ต้องไปเสียเงินเข้าฟิตเนสแพงๆ

9. ลดการ Shopping หลายคนนั้นการ Shopping เป็นอะไรที่มีความสุขเหลือเกิน แต่ก็ขอให้ลดการซื้อแบบสิ้นเปลืองลงบ้าง บางทีก็ซื้อๆไปอย่างนั้นแหละ แต่ก็ได้ใส่แค่ครั้งสองครั้ง บางชิ้นอาจไม่ได้ใส่ด้วยซ้ำ แต่อยากซื้อ..อะไรที่คิดว่าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องซื้อหรอกครับ เอาแค่อันที่เราจะใส่จริงๆ เพราะว่ามันต้องใช้พลังงานมากมายในอุตสาหกรรมพวกนี้

10. ปลูกต้นไม้ ผมว่ามนุษย์ทุกคนชอบธรรมชาติ เวลาที่เราได้เห็นสถานที่ที่มีธรรมชาติงดงาม ไม่ว่าจะเป็นป่าไม่ที่เขียวชอุ่ม น้ำใสๆ ชายหาดที่ขาวสะอาด เราจะรู้สึกสบายใจและชอบมัน แต่ว่าพวกเราก็ไม่ได้ช่วยกันรักษามัน เพราะฉะนั้นถ้ามีเวลาก็ให้ช่วยกันปลูกต้นไม้ อาจจะเป็นที่สวนหน้าบ้านได้ หรือมีเนื้อที่ตรงไหนก็ปลูกตรงนั้น ใส่กระถางไว้ก็ได้ นอกจากจะทำให้บ้านดูสวยขึ้นแล้ว ยังจะช่วยลดก๊าซพิษในอากาศได้อีกด้วย

ผมเชื่อว่า 10 วิธีที่ผมยกตัวอย่างมานี้ ต้องมีมากกว่าหนึ่งข้อที่คุณสามารถทำได้ คุณไม่จำเป็นต้องทำทุกข้อ แต่ยิ่งทำมากก็ยิ่งดี แค่นี้คุณก็จะได้มีส่วนในการช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้ว ส่วนจะทำมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน และสุดท้ายนี้อยากบอกทุกคนว่าในโลกนี้ไม่มีความสำเร็จไหนที่ยิ่งใหญ่จริงๆ มีแต่ความสำเร็จเล็กๆที่รวมกันขึ้นมา จนสามารถกลายเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ เพราะฉะนั้นอย่านึกว่าสิ่งเล็กๆเหล่านี้ที่เราทำมันไม่มีความหมายนะ

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

6 น้ำตกที่สวยที่สุดในโลก

ช่วงนี้พักสายตาจากการกิน-เที่ยว ดู ธรรมชาติสวยๆงามๆจากทั่วโลกบ้างครับ เห็นหลายๆห้องคุย เขาถกกันเรื่องน้ำตกว่าที่ไหนสวยกว่ากัน แบบว่ารักพี่เสียดายน้อง... อันนี้ จขบ.เห็นว่าแล้วแต่มุมมอง คือ "มองเห็นความสวยในแต่ละมุมบวกกับจินตนาการของคนมอง"
ข้อมูลทั้งหมดได้จากการสืบค้นใน web จากแหล่งอ้างอิงที่ให้ไว้ ทั้งภาษาประกิต และไทย เลือกอ่านเอาตามถนัด

Plitvice falls(น้ำตกพลิทไวซ์ โครเอเชีย)
ภาพโดย Jack Brauer
Plitvice falls.


อยู่ ในอุทยาน แห่งชาติทะเลสาบพลิทไวซ์ : Plitvice Lakes National Park ตั้งอยู่ในดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ในส่วนของประเทศโครเอเชีย(Croatia) แม่น้ำโครานา(Korana) ทำให้เกิดทะเลสาบ 20 แห่งไหลผ่านหินปูนและหินชอล์ก ระหว่างทะเลสาบมีน้ำตกหลายแห่งและชั้นหลากหลายทีชวนมหัศจรรย์ หนึ่งในป่าไม้ที่มีอายุมากรุ่นสุดท้ายในยุโรป ภูมิประเทศเป็นที่มหัศจรรย์บ่งบอกถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ทะเลสาบถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ชั้นบนและชั้นล่าง

ธรรมชาติ ของอุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิทไวซ์ เป็นสถานที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาอย่างมหัศจรรย์ให้สัมผัสที่แตกต่างจากที่ อื่นทั่วโลก นักท่องเที่ยวจึงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก การสร้างสรรค์รูปร่างหน้าตาของที่พักและ ทึ่งกับความงามของพื้นที่มาจากของธรรมชาติเองที่มีความแตกต่างและกลมกลืน ของรูปร่างและสีสันในแต่ละฤดูกาล หลากหลายเงื่อนไขพื้นฐานร่วมกันของลักษณะธรรมชาติ

การ เปลี่ยนของสภาพอากาศตามฤดูกาลระหว่างชายฝั่ง และเขตภาคพื้นทวีปมวลอากาศขนาดเล็กจำนวนมากทำให้เกิดฤดูร้อนแสนสบายและแสง แดด ขณะที่ส่วนอื่นยังคงเป็นฤดูหนาวต่อเนื่องไประยะยาวทั้งอากาศเย็นที่รุนแรง และหิมะจำนวนมาก มีพื้นที่ป่าไม้ที่กว้างใหญ่ซ้ำซ้อนในเขตพื้นที่อุทยาน บางส่วนของอุทยานถูกคุ้มครองเป็นพิเศษเป็นป่าสงวน พฤกษชาติถูกกำหนดเป็นลักษณะของป่ายุคแรกของโลก สถานที่และเงือนไขการความเป็นอยู่ที่หลากหลาย ทำให้เป็นไปได้ว่าจำนวนของชนิดของพืชและสัตว์น้ำและสัตว์บกในเขตพื้นที่ของ อุทยาน จะเจริญเติบโตต่อไปโดยไม่มีผลกระทบ

อุทยานแห่งนี้ได้จัดเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก(UNESCO) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979

Credit.. dek-d.com



Jiulong falls (น้ำตกจิ่วหลง)


น้ำตกจิ่วหลง หรือน้ำตกเก้ามังกร เป็นน้ำตกที่สวยที่สุด 1 ใน 6 แห่งของจีน โดยการจัดอันดับของ Chaina National Geography Magazin
น้ำ ตกจิ่วหลง อยู่ที่ Luoping City, Qujing City of Yunnan Province มีปริมาณการไหลของน้ำโดยเฉลี่ย 18.3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนของน้ำตกที่กว้างที่สุด คือ 112 เมตร และสู 56 เมตร สามารถได้ยินเสียงน้ำตกไปไกลถึง 2 กม.

ฤดูท่องเที่ยวของที่นี่ คือ Summer and autumn.



Huangguoshu Falls(น้ำตกหวงกว่อซู่)


น้ำตกหวงกว่อซู่ น้ำตกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน สูง 68 เมตร กว้าง 84 เมตรอันตระการตา และจุดเด่นของน้ำตกหวงกว่อซู่ คือเป็นน้ำตกที่สามารถชมวิวได้ทั้งจากทั้งด้านหน้าและด้านหลังน้ำตก เป็นอีกความงามที่ธรรมชาติได้บรรจงไว้ให้ น้ำตกหวง กว่อซู่ ประกอบด้วย 3 อัศจรรย์ คือเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย วิวสวยมหัศจรรย์ชมได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฟองของน้ำใสกระจายดุจดังสำลี ยามกลางวันจะเกิดสีรุ้ง และสายหมอกบางๆ ในยามเย็น น้ำตกมีหลายชั้นจะเป็นน้ำตกซ้อนน้ำตก ถ้ำสุ่ยเหลียน ถ้ำที่อยู่ด้านหลังของน้ำตก และมีน้ำตกลูกอยู่ด้านในถ้ำอีกที ซึ่งใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องไซอิ๋ว นำท่านเดินผ่านม่านน้ำตก ชมสายน้ำที่ตกย้อยผ่านหน้าท่านประดุจม่านผืนใหญ่


Victoria Falls (น้ำตกวิคตอเรีย)



น้ำตกวิกตอเรีย (Victoria Falls) หรือโมซิ-โอวา-ทุนยา (Mosi-oa-Tunya; ควันที่ส่งเสียงร้องคำราม)ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของประเทศแซมเบีย และ ประเทศซิมบับเว เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ดร.เดวิด ลิฟวิงสโตนในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อน้ำตกนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชินีวิกตอเรีย

น้ำตก วิกตอเรียเกิดจากแม่น้ำซัมเบซีซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนของสองประเทศ ตกลงมาสู่แอ่งลึก น้ำตกมีขนาดกว้างกว่า 1690 เมตร สูงประมาณ 60-100 เมตร น้ำตกวิกตอเรียสามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนย่อย ได้แก่ น้ำตกปีศาจ น้ำตกหลัก น้ำตกสายรุ้ง และน้ำตกตะวันออก ไอน้ำจากน้ำตกวิกตอเรียสามารถมองเห็นได้จากระยะทาง 20 กิโลเมตร.... น้ำตกวิคตอเรีย เป็นน้ำตกที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านมากที่สุด

น้ำตก วิกตอเรียได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันน้ำตกวิกตอเรียเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญ ของประเทศแซมเบียและประเทศซิมบับเว จึงมีการสร้างโรงแรมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในทั้งสองประเทศ แต่การพัฒนาเหล่านี้ขาดการควบคุมจัดการที่ดีองค์การยูเนสโกจึงเคยพิจารณาจะ ถอนน้ำตกวิกตอเรียออกจากการเป็นมรดกโลก



Iguazu Falls (น้ำตกอีกวาซู)



น้ำตกอีกวาซู (Iguazu Falls) คำว่าอีกวาซู แปลว่า "สายน้ำอันยิ่งใหญ่" เป็นคำมาจากภาษากวารานี (Guarani)ชาวอินเดียนแดงเผ่าดั้งเดิม น้ำตกอีกวาซูตั้งอยู่บริเวณรอยต่อพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลกับประเทศ อาร์เจนตินา เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และขึ้นชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลก โดยใหญ่กว่าน้ำตกไนแอการาประมาณ 30 เท่า อย่างไรก็ตามขนาดของน้ำตกใกล้เคียงกับน้ำตกวิกตอเรียในทวีปแอฟริกา

น้ำตก อีกวาซูเกิดจากแม่น้ำอีกวาซูซึ่งไหลมาจากที่ราบสูงปารานา ตกจากขอบที่ราบสูงขนาดใหญ่ลงสู่พื้นที่ราบต่ำกว่า จึงกลายเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เป็นแนวยาวกว่า 4 กิโลเมตร สูงกว่า 269 ฟุต ประกอบด้วยน้ำตกน้อยใหญ่อีก 275 แห่ง ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคมปริมาณน้ำมีมากถึงกว่า 13.6 ล้านลิตรต่อวินาที แต่ในช่วงฤดูร้อน คือระหว่างเมษายนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำจะลดลงเหลือ 2.3 ล้านลิตรต่อวินาที บริเวณรอบ ๆ น้ำตกจะเกิดละอองน้ำอยู่ตลอดเวลาและมีเสียงดังไปไกลกว่า 24 กิโลเมตร บนฝั่งประเทศบราซิลจะมองเห็นน้ำตกได้ทั่วถึงและงดงาม แต่ทางฝั่งประเทศอาร์เจนตินาสามารถเข้าชมน้ำตกได้ใกล้กว่า






Thi lo su (น้ำตกทีลอซู)



น้ำตกทีลอซู ตั้ง อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชีย

ตามความจริงต้องออกเสียงว่า "ทีลอชู" และเป็นคำนามในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า "น้ำตก" ชื่อ "ทีลอซู" เป็นความพยายามแปลความหมายทีละคำ โดย "ที" หรือ "ทิ" แปลว่า "น้ำ" "ลอ" หรือ "ล่อ" แปลว่า "ตก" แต่ "ชู" ไม่มีความหมายใกล้เคียง ดังนั้น จึงมีความพยายามทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจาก "ซู" แปลว่า "ดำ" จึงนำไปสู่การเรียกว่า "ทีลอซู" และแปลว่า "น้ำตกดำ"

ทีลอซู ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงาม และมีความสวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ระหว่าง 1 มิ.ย. - 31 พ.ย. ปริมาณน้ำฝนที่มากจะเพิ่มปริมาณน้ำในลำธารทำให้สายน้ำตกกว้างใหญ่กว่าฤดู อื่น แต่เป็นช่วงที่ทางรถเข้าน้ำตกปิด เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทางและถนอมสภาพทางไม่ให้เสียหาย นักท่องเที่ยวอาจเลี่ยงใช้เส้นทางนี้ได้ โดยการซื้อทัวร์กับบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะเดินทางด้วยเรือยางและเดินป่าอีกราว 12 กม.แต่หากมาท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว - ฤดูร้อนระหว่าง 1 ธ.ค. - 31 พ.ค. ก็สามารถใช้ทางรถยนต์เข้าน้ำตกได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เที่ยวได้สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเที่ยวแบบไปกลับหรือพักค้างแรม


ประวัติ น้ำตกทีลอซู

ที ลอซู ได้รับการค้นพบโดยพรานชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งที่เดินเข้ามาล่าสัตว์ ก่อนที่ ตชด.ได้บินเข้ามาสำรวจในพื้นที่และได้พบน้ำตกทีลอชู ต่อมากรมป่าไม้จะประกาศให้บริเวณนี้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และหลังจากปี พ.ศ. 2528 ที่ อ. ปรีชา อินทวงศ์ พาบุคลากรของนิตยสารท่องเที่ยวแคมปิง เข้าไปสำรวจ น้ำตกทีลอซู ก็เป็นที่รู้จักและเป็นที่ท้าทายของนักเดินทาง "ทีลอซู" แปลว่าน้ำตกใหญ่หรือน้ำตกดำ น้ำตกนี้ซ่อนอยู่ในหลืบผาอันกว้างใหญ่ สายน้ำเกิดจากห้วยกล้อทอซึ่งมีแดนกำเนิดอยู่บนดอยผะวี แล้วไหลลงแม่น้ำแม่กลองที่ ต. แม่ละมุ้ง อ. อุ้มผาง

การค้นพบที่ กล่าวถึงเป็นการพบของคนไทย จากงานของ ประชา แม่จัน ในหนังสือ "อุ้มผาง เบื้องหลังธรรมชาติ"เขียนถึง บริเวณที่ตั้งแคมป์ทีลอชู เป็นบ้านเก่าชาวปกากะญอ (กะเหรี่ยง) เรียกว่า "ว่าชื่อคี" บริเวณที่จอดรถเป็นที่นาเก่าของชาวบ้านที่นี่ การที่เป็นบ้านร้างเพราะชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายไปอยู่บ้านโขะทะเพื่อเข้าร่วม กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เหลือย้ายเข้ามาอยู่กับฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น ชาวปกากะญอที่นี่รู้จักน้ำตกทีลอชูมาช้านานแล้ว





Angel Falls (น้ำตกเเอนเจล)



น้ำตกเเอนเจล
น้ำตกแอนเจล (Angel falls) ตั้งอยู่กลางป่าดงดิบประเทศเวเนซุเอลา เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในโลก
สูงกว่าน้ำตกไนแองการา 18 เท่า มีความสูงกว่า 979 เมตร ซึ่งผู้ทีจะเข้าไปชมน้ำตก สามารถเข้าไปทางเรือและเครื่องบินเท่านั้น
ชื่อน้ำตกมาจากนักบินชาวอเมริกัน ชื่อ จิมมี เอเนเจล ผู้ค้นพบน้ำตกเป็นคนแรก เมื่อปี ค.ศ. 1935

หาดป่าตอง ภูเก็ต


หาดป่าตอง ภูเก็ต
เป็นชายหาดที่มีชื้อเสียงมากที่สุดของเกาะภูเก็ต และยังเป็นสถานที่ผักผ่อนที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาผักผ่อนตลอดทั้งปีอีกด้วย ภายในบริเวณมี่บ้านพัก โรงแรม บริษัทนำเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร แหล่งบันเทิงยามค่ำคืนไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว ที่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นสถานที่ท่องเที่ยว 24 ชม. เลยก็ว่าได้ ณ บริเวณชายหาดยังมีหาดทรายขาวละเอียด เหมาะสำหรับเล่นน้ำทะเล และยังมีกิจกรรมทางทะเล ไม่ว่าจะเป็น เจสกี สปีดโบท และอื่นๆอีกมากมาย ไว้สำหรับรองรับนักท่องเที่ยว อย่างครบครัน
จุดเด่น - เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมากที่สุดของภูเก็ต
- บริเวณหาดมีเม็ดทรายสีขาวละเอียด
- มีแหล่งช๊อปปิ้ง ร้านอาหาร แพ็คเกจทัวร์ สปา ทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก
- มีโรงแรมรองรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก
- มีกิจกรรมท่องเที่ยวตามชายหาดทุกรูปแบบ
- สามารถเดินทางข้ามไปยัง หาดพาราไดส์ ภูเก็ต ได้ เพียงไม่กี่นาที เนื่องจากเป็นหาดที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
- มีแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีสำหรับนักท่องเที่ยวทุกรูปแบบและเป็นจำนวนมาก
- มีจุดรับส่งนักท่องเที่ยวหรือแท็กซี่บริการนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
จุดด้อย - ที่จอดรถมีจำนวนมากแต่ก็ยังไม่ยังไม่พอสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมาก
- ช่วงเทศกาลพิเศษจะมีนักท่องเที่ยวหนาแน่นมาก
การเดินทาง การเดินทางมายังหาดป่าตองสามารถมาถึงได้จากสามทางหลัก หากเดินทางมาจากตัวเมืองโดยนับจาก"สนามกีฬาสุระกุลภูเก็ต" จะใช้เวลา ประมาณ 25 นาที หรืออีกเส้นทางที่สองสามารถเดินทางจากหาดกะรนจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที และอีกเส้นทางที่สามสามารถเดินทาง มาจากหาดกมลาโดยจะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเช่นกัน โดยทั้งสามทางสามารถเดินทางไปถึงหาดได้ทั้งรถยนต์และ รถจักรยานยนต์

การเป็นดีไซน์เนอร์

จากการเขียนบทความเรื่อง ทำอย่างไรกว่าจะได้เป็น นักออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้า เพื่อช่วย ให้น้องๆหลายคน ในช่วงปิดเทอมที่พอดี search หาข้อมูลเกี่ยวกับ การเรียนเป็นดีไซน์เนอร์ ( นักออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้า) จะได้มีข้อมูลว่า เขาเริ่มต้นกันอย่างไร เลยนึกขึ้นมาได้ว่า มีรายการทีวีออนไลน์ รายการโปรดอันหนึ่ง ซึ่งเหมาะกับคนที่ ใฝ่ฝันอยากเป็นนักออกแบบกันนักหนา น่าจะได้ดูเพราะ พร้อมเมื่อใดก็เปิด หรือ download ผ่าน bit torrent ก็ลองหามาดูกัน จะได้มีจินตนาการว่า นักออกแบบแฟชั่น เขาทำงานกันอย่างไร ก่อนตัดสินใจ คิดจะเรียน เพราะทุกวันนี้ มักเห็นแต่ พวกดีไซน์เนอร์ ที่ทำได้แต่การวาดรูปสวยงาม บนเศษกระดาษ แล้วก็โยนให้ช่างคนอื่นๆ ทีเขาเรียนมาน้อยๆ เอาไปทำมา โดยไม่รู้เลยว่า สิ่งที่ตนเองได้ร่ำเรียนมา มันทำได้จริงหรือไม่เพียงใด ตลอดจน ผู้สวมใส่ จะมีความอึออัด หรือคล่องตัวมากน้อยเพียงใด อันนี้ก็มักเป็นการขาดการฝึกงาน หรือเป็นดีไซน์เนอร์แบบ CEO สมัยไใหม่ที่มีแต่บุญวาสนาติดตัวมา ทำอะไรไม่เป็น มันจะได้งานที่ดีออกมาได้อย่างไร

รายการนี้ในปัจจุบัน เข้าสู่ season ที่ 5 แล้ว ถ้าจำไม่ผิด นักออกแบบแต่ละคน จะต้องออกแบบเสื้อผ้า ตามคอนเสปต์ ที่ถูกกำหนด ออกไปชอปปิ้งซื้อผ้า แล้วกลับมาตัดเย็บ เพื่อให้นางแบบเดินโชว์จริง บนแคตวอลค์แบบทันทีทันใด มีการตัดสินให้คะแนน แล้วโหวตออกจนได้ผู้ชนะ

Baby-bride คิดว่า รายการทีวีออนไลน์รายการนี้ น่าจะเป็นแรงบันดาลใน ให้คนที่อยากเป็นดีไซน์เนอร์ ว่ากว่าจะมาเป็นดีไซน์เนอร์ นั้นต้องทำอะไร อย่างไร แล้วต้องเจอกับอะไรบ้าง มันไม่ใช่งานง่ายหรอก

ตอบคุณ Earth: จะได้เข้าใจคนเขียน ว่า อยากให้คนไทย ที่อยากไปด้านนี้ เป็นอย่างไง? ใน Idea แบบคนแก่

สำหรับผม ก็ทำได้แค่นั้นเช่นกัน ผมเป็นคนแก่อายุมากแล้ว ปลกเกษียณ สายตามันไม่ดีแล้ว หมดโอกาศจะเป็น ปกติ ไม่มีความสามารถมากด้านนี้ แค่ชอบและส่งเสริมอาชีพที่น่าสงสาร อันหนึ่ง

แต่ทีมงานป้าๆ ทุกคน เขามีครบ ไม่ว่า sketch ตัด เย็บ อธิบายและอื่นๆ หลายคน ก็ยังเป็นได้แค่ คนที่ต้องทำหน้าที่เย็บ หรือ ขายอย่างเดียว

ตำแหน่งที่ หลายคนอาจให้เรา และเรียกเรา เสียสุดโก้ๆ ว่า ดีไซร์เนอร์ ใครเรียกใครมันไม่แปลก ผมไม่สนใจ เพราะมันก็เป็นคำสมมุติ ในช่องทางการสื่อสาร

แต่หากเราถาม หัวใจเรา และลืมตา ดูโลกภายนอก โลกแห่งการแข่งขัน เมื่อคุณต้องสวมกับ นามสมมุติอันนั้น บทบาทนั้น เดินออกไปต่อสู้ในโลก ที่ไม่ใช่การคลิ๊ก เช่น คุณลองดูแค่ คลิปคนที่เขาแข่งขันกัน จะเอื่อมเป็น สิ่งนี้นี่แหละ แม้ผมคิดแบบคนหัวโบราณๆ เช่นชิ้น นี้

Versace ( จานนี เวอร์ซาเช ) ดีไซน์เนอร์ ดีไซน์เนอร์นักออกแบบแฟชั่น จานนี เวอร์ซาเช ( Gianne Versace ) เกิดในเมือง Reggio Calabria อิตาลี ในปี1946 เขากลายเป็นเหยื่อ ของการฆาตกรรมอย่างเลือดเย็นเมื่อ วันที่16 สิงหาคม 1997 ในช่วงวัยเด็กนั้น Versace ได้ถูกเลี้ยงดูขึ้นมา จากร้านตัดเสื้อผ้าเล็กๆ ของแม่ เขาจึงได้เรียนรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับ การออกแบบดีไซน์เสื้อผ้า และเขาก็ได้ออกแบบมันขึ้นมา ด้วยตัวของเขาเอง เสื้อผ้าที่เขาออกแบบเหล่านี้ ได้ถูกวางขาย ภายในร้านของแม่ของเขานั่นเอง



ครอบครัวดีไซน์เนอร์ของ Versace หลังจากการได้ เริ่มออกแบบดีไซน์เสื้อผ้าแฟชั่น Versace ได้ต่อยอดตัวเอง ด้วยการเข้าไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การเป็นผู้จัดซื้อสินค้า เกี่ยวด้านสิ่งทอต่างๆ จนทำให้เขา มีความรู้เรื่องปลีกย่อย เกี่ยวกับสิ่งทอจนแตกฉาน ซึ่งมันได้มีประโยชน์ต่อเขา อย่างมหาศาล เกี่ยวกับงานออกแบบของเขาเอง ในเวลาต่อมา เขาได้มีโอกาสเป็นครั้งแรก Read the rest of this entry » หลังจากการได้ เริ่มออกแบบดีไซน์เสื้อผ้าแฟชั่น Versace ได้ต่อยอดตัวเอง ด้วยการเข้าไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การเป็นผู้จัดซื้อสินค้า เกี่ยวด้านสิ่งทอต่างๆ จนทำให้เขา มีความรู้เรื่องปลีกย่อย เกี่ยวกับสิ่งทอจนแตกฉาน ซึ่งมันได้มีประโยชน์ต่อเขา อย่างมหาศาล เกี่ยวกับงานออกแบบของเขาเอง ในเวลาต่อมา เขาได้มีโอกาสเป็นครั้งแรก ที่จะได้แสดงผลงานชิ้นสุดยอดของเขา ให้กับ Fiori Fiorentini , a Lucca บริษัทที่อยู่ในอิตาลี Versace ยังได้ออกแบบผลงานภายใต้ยี่ห้อ De Parisi,Genny, Callaghan, Alma ในการร่วมงานครั้งนี้ ชื่อของเขา ก็ได้ปรากฏในตราสินค้าเป็นของตัวเองครั้งแรก ในปี 1978 เขาก็ได้เปิดร้านเป็นของตัวเอง ในเมืองมิลาน เขาได้ขายตราสินค้าอื่นๆในร้านแห่งนี้ด้วย เนื่องจาก กระแสความนิยม ในสไตล์ การออกแบบของ Versace สินค้าของเขาจึงขยายตัวออกไป อย่างรวดเร็ว ในปี1985 Versace ก็ได้สร้างจุดเด่นบนตราสินค้าเป็นครั้งแรก





งานแสดงชุดที่ออกแบบที่ Milan อิตาลี สไตล์การออกแบบของ Versace ได้กลายเป็น ตัวตราสินค้าของมันเอง หากใครต้องการจะยลโฉม งานของหรืออยากรู้ว่างาน Versace มันเป็นแนวอย่างไง คุณก็ลองดูงานการออกแบบของ Giorgio Armani ก่อน ตานี้จะบอกว่า งานการออกแบบ ของVersace ก็คืออะไรสักอย่าง ที่ Armani ไม่มีเลยในตัวของมัน เรารู้กันดี ในเรื่องของการเป็เจ้าพ่อ แ่ห่งการออกแบบที่มีสีสัน วัสดุแปลกๆใหม่ๆเสมอ ตลอดจนการทำคัตติ้ง ( cutting ) ที่ไม่เคยมีใครทำกันทั่วไป งานในคอลเลคชัน สำหรับหญิงและชาย ของ Versace มันช่างบ่งบอก ถึงเรื่องเพศได้ดี เสียจริงขอบอก ลองดูสื่อโฆษณาสินค้า ของสินค้าแบนด์นี้ดู คงเข้าใจว่ามัน ตรงจุดเพียงใด ในทุกๆครั้ง กับการออกแบบสินค้าตัวใหม่ของเขา เขาจะให้แต่เพียงคอนเสปต์ของงานคร่าวๆ เป็นอย่างมากก่อนกับทีมงาน หลังจากนั้น ผู้ช่วยของเขา จะต้องทำการเปลี่ยนมัน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ ที่สามารถสวมใส่ได้อีกที ในฐานะที่เขาเป็น นักสรรหาวัตถุดิบ เช่นผ้าชนิดใหม่ๆ จึงทำให้เขาชอบการเดินทาง เป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งมันก็ทำให้เขา มีประสบการณ์ กับสิ่งแปลกๆใหม่ๆอยู่เสมอ จานนี เวอร์ซาเช ( Versace )ได้ถูกยิงที่หน้าคฤหาสน์ของเขาเอง ที่เมือง Miami รัฐ Florida ในปี 1997 ฆาตกรได้ยิงตัวเองตาย หลังจากนั้น Santo Versace ซึ่งเป็นน้องชายของ Gianne Versace ก็ได้เป็นคนดูแลกิจการของ Versace ต่อมาโดย Donatella Versace ผู้เป็นน้องสาว ได้กลายเป็นคนออกแบบสินค้า ภายใต้ยี่ห้อ Versace ตั้งแต่นั้นมา ลองดูผลงานการออกแบบของ Versace รุ่นปัจจุบันกันเลย จึงได้รับการขานนามว่า จานนี เวอร์ซาเช ดีไซน์เนอร์ที่น่าสงสาร
จาก www.ree-wedding.com
13-10-2009

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โดราเอมอน


โดราเอมอน (ญี่ปุ่น: ドラえもん Dora'emon โดะระเอะมง ?) หรือ โดเรมอน เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวหูด้วน ชื่อ โดราเอมอน โดยฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วยของวิเศษจากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2513 โดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง[3] โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน[4] ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัล Tezuka Osamu Cultural Prize ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น[5] อีกทั้งยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่น[6] จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น[7] นอกจากนี้บริษัทบันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิตหุ่นยนต์โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My โดราเอมอน" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552[8]

ในประเทศไทย โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนมีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัทโรส


โครงเรื่อง


เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของโนบิตะเด็กชายชั้น ป.4 ที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน, อ่านหนังสือ และไปโรงเรียนสายบ่อย ๆ โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือโดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอม่อนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ไจแอนท์เด็กที่ดูเป็นอันธพาล แต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง ซูเนโอะผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด เดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ชิซุกะผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย ไจโกะน้องสาวของใจแอนท์ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มีโดรามี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋ามิติที่ 4 และของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย และคุณพ่อและแม่ของโนบิตะ ซึ่งแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าพ่อ

แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะ และคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเล หรือว่ายุคไดโนเสาร์)

รายชื่อตัวละคร


ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นเรื่องราวของกลุ่มเพื่อนในวัยเด็ก 4 คน และมีหุ่นยนต์แมวจากอนาคตเป็นตัวละครหลักดังนี้

โดราเอมอน
หุ่นยนต์แมวจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นหลานของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา กลัวหนูมาก เพราะเคยโดนหนูแทะหูจนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิเนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะโดราเอมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวนึงซึ่งน่ารักมากโดราเอมอนจึงชอบเป็นพิเศษ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ฉันทนา ธาราจันทร์[10])
โนบิ โนบิตะ
เด็กชายที่ไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียน กีฬา นิสัยขี้เกียจ และชอบนอนกลางวัน สอบก็ได้ 0 คะแนนทุกครั้ง แต่ก็มีความสามารถด้านยิงปืนและพันด้ายและเป็นคนมีน้ำใจ ชอบชิซุกะมานาน และมักถูกไจแอนท์กับซึเนะโอะแกล้งประจำ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ศันสนีย์ วัฒนานุกูล[11])
มินาโมโต้ ชิซุกะ
เด็กสาวน้ำใจดี เป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมากและชอบเล่นเปียโน เป็นเด็กสาวที่โนบิตะแอบชอบ และชอบกินสปาเก็ตตี้เป็นพิเศษ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ศรีอาภา เรือนนาค[12])
โฮเนคาวะ ซึเนะโอะ
เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดี และเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ชอบพูดยกยอ และขี้ประจบ ชอบเอาของมาอวดให้พวกๆอิจฉาแต่ก็พร้อมที่จะเจออันตรายกับพวกเพื่อนๆได้ในตอนที่เป็นภาพยนตร์ มักจะวางแผนกับไจแอนท์เพื่อแกล้งโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส[13])
ไจแอนท์ (โกดะ ทาเคชิ)
เด็กอ้วน หัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำ แต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ (อยากขอร้องให้ช่วย) ฝันอยากจะเป็นนักร้องแต่เสียงไม่เอาไหน (พากย์เสียงภาษาไทยโดย นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์[14])
โดเรมี
หุ่นยนต์แมวจากอนาคต เป็นน้องสาวของโดราเอมอนสวยน่ารัก แต่ประสิทธิภาพสูงกว่าโดราเอมอนทุกด้านเช่น ความรู้ วิธีใช้ของวิเศษ อาศัยอยู่ที่โลกศตวรรษที่ 22 ไม่ค่อยปรากฏตัวให้พบเห็น จะปรากฏตัวเมื่อโดราเอมอนเรียกขอความช่วยเหลือ หรือ สถานการณ์ที่โดราเอมอนไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็มาช่วยเหลือโนบิตะตอนที่โดราเอมอนไม่อยู่ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส)

โดราเอมอนกับประเทศไทย

การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทย สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปีพ.ศ. 2524 โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า "โดราเอมอน แมวจอมยุ่ง" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์ ต่อมาสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจก็ได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกัน แต่เลือกใช้ชื่อว่า "โดเรมอน" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่าย จากเดือนละเล่มในช่วงต้น ก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่ม จนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์ และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของฟูจิโกะ ฟูจิโอะที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี

หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เห็นความนิยมของโดราเอมอน จึงได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ลงเป็นตอนๆ ในแต่ละวันโดยเริ่มวันแรกวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการไม่ให้ชื่อซ้ำกับทาง 2 สำนักพิมพ์แรก ไทยรัฐจึงได้ตั้งชื่อใหม่อีกเป็น "โดรามอน เจ้าแมวจอมยุ่ง" ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทยเรียกชื่อ โดราเอมอน ต่างกันหลายชื่อ

สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือสยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบัน และใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า "โลกของโดรามอน" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจากประเทศฮ่องกงมาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ

ในปีพ.ศ. 2525 ทางไชโยภาพยนตร์ได้มีการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ขึ้นถึง 2 ตอนด้วยกัน คือตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ และโนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ทางช่อง 9 ก็ได้มีการออกอากาศโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ทางโทรทัศน์ เริ่มเมื่อวันที่ 5 กันยายน ในปีเดียวกัน ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน ทำให้ช่อง 9 ได้รับการยอมรับในเรื่องของการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และทีมนักพากย์การตูนอีกด้วย (นิตยสาร a day, 2545: 70) สำหรับในปัจจุบัน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มีการจัดฉายในโรงภาพยนตร์เป็นประจำทุกปีอีกครั้ง โดยบริษัทดับบลิวพีเอ็มฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มในปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา[22] ส่วนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีนั้นก็มีการฉายซ้ำเป็นระยะ และฉายตอนใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์

ความนิยม
โดราเอมอนเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแม้ว่าเรื่องนี้จะจบลงไปนานแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ โดยมีการพิมพ์ใหม่ หรือนำออกมาฉายซ้ำออกอากาศอยู่เรื่อยๆ[ต้องการอ้างอิง]

เคยมีการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาว่าสาเหตุที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากนั้น เป็นเพราะตัวละครโนบิตะ มีลักษณะเป็นคนอ่อนแอ ขี้แพ้ ทำอะไรก็มักไม่ค่อยสำเร็จ หากมีเรื่องที่ถนัดอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สังคมไม่ให้ความสำคัญหรือการยกย่อง เช่น เล่นพันด้าย หรือยิงปืนแม่น[ต้องการอ้างอิง] และเนื่องจากลักษณะนี้เองทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความรู้สึก "มีส่วนร่วม" และเปิดใจให้ตัวละครอย่างโนบิตะเข้ามาในจิตใจได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ล้วนรู้สึกว่าตนเองคือผู้แพ้ คือผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก ไร้ความสามารถ หน้าตาไม่ดี ไม่มีความสามารถ และย่อมอยากและหวังว่าสักวันหนึ่งจะมีผู้มาช่วยเหลือเรื่องต่างๆให้แก่เรา ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือโดราเอมอนนั่นเอง[ต้องการอ้างอิง]

โดราเอมอนนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่อย่างหนึ่งก็ได้ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โดราเอมอนมักออกมาช่วยเหลือ ปกป้อง แก้ปัญหาให้โนบิตะ ในยามคับขันหรือเดือดร้อน เสมอๆ เป็นบทบาทของ "แม่ผู้ใจดี"[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งก็คือสิ่งที่มนุษย์เราต้องการอยู่ลึกๆ และในบางตอนโดราเอมอนก็แสดงบท "แม่ใจร้าย" คือการแก้เผ็ดหรือปล่อยให้โนบิตะผจญกับความยากลำบากที่มักเป็นผู้ก่อขึ้นเองจากความรู้สึกในด้านชั่วร้าย เช่นการอิจฉาริษยาผู้อื่น การเกลียดชังผู้อื่น การโกหก เพื่อเป็นการสั่งสอนโนบิตะให้รู้จักความผิดชอบชั่วดี

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประเทศเกาหลี


ประเทศเกาหลี (เกาหลี: 한국 หรือ 조선 , ฮันกุก หรือ โจซอน) เป็นอดีตประเทศ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นประเทศเกาหลีเหนือ และ ประเทศเกาหลีใต้

ประวัติศาสตร์เริ่มจาก อาณาจักรโคโชซอน สถาปนาขึ้นโดย "ทันกุน" ต่อมาสมัยสามอาณาจักรแห่งเกาหลี (โคกูรยอ, แพ็กเจ, และชิลลา) ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นสหอาณาจักรชิลลา ซึ่งมีพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และต่อมา ค.ศ. 918 ได้สถาปนาอาณาจักรโคเรียว หรือ โค-รยอ ซึ่งเป็นชื่อของเกาหลี (Korea) และเมื่อราชวงศ์โชซอน (ราชวงศ์ลี) ครองอำนาจเปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่ ชื่อ อาณาจักรโชซอนเมืองหลวงชื่อว่า ฮันยาง (กรุงโซล) มีลัทธิขงจื้อ เป็นคติธรรมประจำชาติ และได้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี ขึ้น

ในปี พ.ศ. 2453ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นจนกระทั่งสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้รับอิสรภาพอย่างถาวร

ประเทศเกาหลีแบ่งเป็น 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ โดย ประเทศเกาหลีใต้สถาปนาเป็น สาธารณรัฐเกาหลี ส่วนประเทศเกาหลีเหนือสถาปนาเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี

ประเทศญี่ปุ่น


ญี่ปุ่น" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ญี่ปุ่น (แก้ความกำกวม)
ประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本 Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง ?) มีชื่อทางการคือรัฐญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本国 Nihon-koku/Nippon-koku นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ ?) (จีนตัวเต็ม: 日本國; จีนตัวย่อ: 日本国) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอคอตสค์ เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย

ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,930 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 61 ของโลก[7] หมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือประมาณ 128 ล้านคน[8] เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียว ซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน

สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490

ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสองของโลก ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จี 8 โออีซีดี และเอเปค และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศ ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี และยังเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี เครื่องจักร และหุ่นยนต์

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ชื่อประเทศ
2 ประวัติศาสตร์
2.1 ยุคโบราณ
2.2 ยุคเริ่มอารยธรรมญี่ปุ่น
2.3 ยุคศักดินา
2.4 ยุคใหม่
3 การเมืองการปกครอง
4 นโยบายต่างประเทศและการทหาร
4.1 ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
5 การแบ่งเขตการปกครอง
5.1 เมืองที่มีประชากรมากที่สุดของญี่ปุ่น 14 อันดับแรก
6 ภูมิศาสตร์
7 เศรษฐกิจ
8 โครงสร้างพื้นฐาน
9 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10 ประชากร
10.1 จำนวนประชากร
10.2 การศึกษา
10.3 การรักษาพยาบาล
11 วัฒนธรรม
11.1 ดนตรี
11.2 วรรณกรรม
11.3 กีฬา
11.4 อาหาร
12 อ้างอิง
13 ดูเพิ่ม
14 หนังสืออ่านเพิ่มเติม
15 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] ชื่อประเทศในภาษาญี่ปุ่น ชื่อประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า นิปปง (にっぽん) หรือ นิฮง (にほん) ซึ่งใช้คันจิตัวเดียวกันคือ 日本 คำว่านิปปง มักใช้ในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนคำว่า นิฮง จะเป็นศัพท์ที่ใช้โดยทั่วไป

สันนิษฐานว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นใช้ชื่อประเทศว่า "นิฮง/นิปปง (日本)" ตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 13[9][10] ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ และทำให้ญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย ชื่อนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีการติดต่อกับราชวงศ์สุยของจีนและหมายถึงการที่ญี่ปุ่นอยู่ในทิศตะวันออกของจีน[11] ก่อนที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในชื่อยะมะโตะ[12]

ชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่นในภาษาอื่น ๆ เช่น เจแปน (อังกฤษ: Japan) ยาพัน (เยอรมัน: Japan) [13] ชาปง (ฝรั่งเศส: Japon) [14] ฮาปอง (สเปน: Japón) [15] ส่วนคำว่าญี่ปุ่นในภาษาไทย หน้าจะมาจาก ภาษาจีนฮกเกี้ยน หรือ แต้จิ๋ว ที่ออกเสียงว่า (ฮกเกี้ยน:ยิดปุ่น) หรือ (แต้จิ๋ว: ยิกปั่ง) ก็ล้วนแต่เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากคำอ่านตัวอักษรจีน 日本国 ซึ่งอ่านว่าจีปังกู แต่ในสำเนียงแมนดารินอ่านว่า รื่เปิ่นกั๋ว (จีน: rì bĕn guó; 日本国) หรือย่อ ๆ ว่า รื่เปิ่น (rì bĕn; 日本) [16] ส่วนในภาษาที่ใช้ตัวอักษรจีนอื่น ๆ เช่นภาษาเกาหลี (เกาหลี: 일본;日本) [17] และภาษาเวียดนาม (เวียดนาม: Nhật Bản;日本) [18] จะเรียกประเทศญี่ปุ่นโดยออกเสียงคำว่า 日本 ด้วยภาษาของตนเอง

[แก้] ประวัติศาสตร์ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
[แก้] ยุคโบราณ
เครื่องปั้นดินเผายุคโจมงสันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า เมื่อประมาณ 35,000 ปีก่อนพุทธศักราช[19] หลังจากนั้นยุคโจมงก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อนพุทธศักราช ผู้คนดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์[20] มีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร คำว่าโจมงในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าลายเชือกซึ่งมาจากลวดลายเชือกบนภาชนะในยุคนั้นที่ค้นพบในช่วงแรก

ยุคยะโยอิ เริ่มเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่ผู้คนเริ่มเรียนรู้วิธีการปลูกข้าว การตีโลหะ ซึ่งได้รับความรู้มาจากผู้อพยพชาวจีนแผ่นดินใหญ่[21] การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น โฮ่วฮั่นชู (後漢書) ในปี 57 ก่อนคริสตกาล [22] ซึ่งเรียกชาวญี่ปุ่นว่า วะ (倭) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 อาณาจักรที่ทรงอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่นคือยะมะไทโคะกุ (邪馬台国) ปกครองโดยราชินีฮิมิโกะ ซึ่งเคยส่งคณะทูตไปยังประเทศจีนผ่านทางเกาหลีด้วย

[แก้] ยุคเริ่มอารยธรรมญี่ปุ่น
สุสานจักรพรรดิในสมัยยุคโคะฮุงยุคโคะฮุง ซึ่งตั้งชื่อตามสุสานที่นิยมสร้างขึ้นกันในยุคดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 จนถึง 12 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการปกครองแบบราชวงศ์ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองนั้นอยู่บริเวณเขตคันไซ ในยุคนี้พระพุทธศาสนาได้เข้ามาจากคาบสมุทรเกาหลีสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น[23] แต่พระพุทธรูปและพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นหลังจากนั้นได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก[24] เจ้าชายโชโตะกุทรงส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน ญี่ปุ่นจึงได้รับนวัตกรรมใหม่ ๆ จากแผ่นดินใหญ่มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทรงตรารัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา ซึ่งเป็นกฎหมายญี่ปุ่นฉบับแรกอีกด้วย[23] และในที่สุดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นตั้งแต่สมัยอะซึกะ[25]

ยุคนะระ (พ.ศ. 1253-1337) [26] เป็นยุคแรกที่มีการก่อตัวเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองอย่างมีระบบให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยการนำระบอบการปกครองมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้นก็คือเฮโจเกียวหรือจังหวัดนะระในปัจจุบัน ในยุคนะระเริ่มพบการเขียนวรรณกรรมเช่นโคจิกิ (พ.ศ. 1255) และนิฮงโชะกิ (พ.ศ. 1263) [27] เมืองหลวงถูกย้ายไปที่นะงะโอกะเกียวเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกย้ายอีกครั้งไปยังเฮอังเกียว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอัง

ระหว่าง พ.ศ. 1337 จนถึง พ.ศ. 1728 ซึ่งเป็นยุคเฮอังนั้น ถือได้ว่าเป็นยุคทองของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเองเริ่มพัฒนาขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดมากที่สุดคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร ฮิรางานะ ซึ่งทำให้เกิดวรรณกรรมที่แต่งโดยตัวอักษรนี้เป็นจำนวนมาก เช่นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ได้มีการแต่งนวนิยายเรื่องนิทานเกนจิ (源氏物語) ขึ้น ซึ่งเป็นนิยายที่บรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปกครองของตระกูลฟุจิวาระ และบทกลอนที่ถูกใช้เป็นเนื้อเพลงของเพลงชาติญี่ปุ่น คิมิงะโยะ ก็ถูกแต่งขึ้นในช่วงนี้เช่นเดียวกัน[28]

[แก้] ยุคศักดินา
วัดคิงกะกุ ในเมืองเกียวโต สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักของโชกุนอะชิกะงะ โยชิมิสึในยุคมุโรมะจิยุคศักดินาญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการที่ผู้ปกครองทางการทหารเริ่มมีอำนาจขึ้น พ.ศ. 1728 หลังจากการพ่ายแพ้ของตระกูลไทระ มินะโมะโตะ โน โยริโตโมะ ได้แต่งตั้งตนเองเป็นโชกุน และสร้างรัฐบาลทหารในเมืองคะมะกุระ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคคะมะกุระซึ่งมีการปกครองแบบศักดินา แต่รัฐบาลคามากุระก็ไม่สามารถปกครองทั้งประเทศได้ เพราะพวกราชวงศ์ยังคงมีอำนาจอยู่ในเขตตะวันตก หลังจากการเสียชีวิตของโชกุนโยริโตโมะ ตระกูลโฮโจได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุน รัฐบาลคะมะกุระสามารถต่อต้านการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลใน พ.ศ. 1817 และ พ.ศ. 1824 โดยได้รับความช่วยเหลือจากพายุกามิกาเซ่ซึ่งทำให้กองทัพมองโกลประสบความเสียหายอย่างมาก[29]

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลคะมะกุระก็อ่อนแอลงจากสงครามครั้งนี้ จนในที่สุดต้องสูญเสียอำนาจให้แก่จักรพรรดิโกไดโกะ ผู้ซึ่งพ่ายแพ้ต่ออาชิกางะ ทากาอุจิในเวลาต่อมาไม่นาน[30] อาชิกางะ ทากาอุจิย้ายรัฐบาลไปตั้งไว้ที่มุโรมะจิ จังหวัดเกียวโต จึงได้ชื่อว่ายุคมุโรมะจิ ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 อำนาจของโชกุนเริ่มเสื่อมลงและเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น เพราะบรรดาเจ้าครองแคว้นต่างทำสู้รบเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสงครามที่เรียกว่ายุคเซงโงกุ[30]

ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 มีพ่อค้าและมิชชันนารีจากโปรตุเกสเดินทางมาถึงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และเริ่มการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับโลกตะวันตก (การค้านัมบัน)

สงครามดำรงอยู่หลายสิบปี จนโอดะ โนบุนากะเอาชนะเจ้าครองแคว้นอื่นหลายคนโดยใช้เทคโนโลยีและอาวุธของยุโรปและเกือบจะรวมประเทศญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่นได้แล้วเมื่อเขาถูกลอบสังหารใน พ.ศ. 2125 โทโยโทมิ ฮิเดโยชิผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อมาสามารถปราบปรามบ้านเมืองให้สงบลงได้ในพ.ศ. 2133 ฮิเดโยชิรุกรานคาบสมุทรเกาหลีถึง 2 ครั้ง[31] แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเมื่อเขาเสียชีวิตลงใน พ.ศ. 2141 ญี่ปุ่นก็ถอนทัพ[32]

หลังจากฮิเดโยชิเสียชีวิต โทกุงะวะ อิเอะยะสึแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการให้แก่ลูกชายของฮิเดโยชิ โทโยโทมิ ฮิเดโยริ เพื่อที่จะได้อำนาจทางการเมืองและการทหาร อิเอะยะสึเอาชนะไดเมียวต่าง ๆ ได้ในสงครามเซะกิงะฮะระใน พ.ศ. 2143 จึงขึ้นเป็นโชกุนใน พ.ศ. 2146 และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ที่เมืองเอะโดะ ยุคเอะโดะจึงเริ่มต้นขึ้น รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะได้ใช้วิธีหลายอย่าง เช่น บุเกโชฮัตโต เพื่อควบคุมไดเมียวทั้งหลาย ใน พ.ศ. 2182 รัฐบาลเริ่มนโยบายปิดประเทศและใช้นโยบายนี้อย่างไม่เข้มงวดนักต่อเนื่องถึงประมาณสองร้อยห้าสิบปี ในระหว่างนี้ ญี่ปุ่นศึกษาเทคโนโลยีตะวันตกผ่านการติดต่อกับชาวดัตช์ที่สามารถเข้ามาที่เกาะเดจิมะ (ในจังหวัดนะงะซะกิ) เท่านั้น[33] ความสงบสุขจากการปิดประเทศเป็นเวลานานทำให้ชนที่อยู่ใต้อำนาจปกครองอย่างเช่นชาวเมืองได้มีโอกาสที่จะประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาในทางของตนเอง ในยุคเอะโดะนี้ยังมีการเริ่มต้นการให้ศึกษาประชาชนเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย[34]

แต่ญี่ปุ่นก็ถูกกดดันจากประเทศตะวันตกให้เปิดประเทศอีกครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2394 นาวาเอก (พิเศษ) แมทธิว เพอร์รี่ และเรือดำของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาบุกมาถึงญี่ปุ่นเพื่อบังคับให้เปิดประเทศด้วยสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ต้องทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ ซึ่งสนธิสัญญาเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นประสบปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง เพราะการเปิดประเทศและให้สิทธิพิเศษกับชาวต่างชาติทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากไม่พอใจต่อรัฐบาลเอะโดะ และเกิดกระแสเรียกร้องให้คืนอำนาจอธิปไตยแก่องค์จักรพรรดิ (ซึ่งมักเรียกว่าการปฏิรูปเมจิ) [35] จนในที่สุดรัฐบาลเอะโดะก็หมดอำนาจลง

[แก้] ยุคใหม่
แผนที่จักรวรรดิญี่ปุ่น พ.ศ. 2485ในยุคเมจิ รัฐบาลใหม่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิได้ย้ายฐานอำนาจขององค์จักรพรรดิมายังเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจากเอโดะเป็นโตเกียว มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองตามแบบตะวันตก เช่นบังคับใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2443 และก่อตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยใช้ระบบสองสภา นอกจากนี้ จักรวรรดิญี่ปุ่นยังสนับสนุนการรับเอาวิทยาการจากประเทศตะวันตก[36]และทำให้มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มมีความขัดแย้งทางทหารกับประเทศข้างเคียงเมื่อพยายามขยายอาณาเขต หลังจากที่ได้ชัยชนะในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2437-2438) และสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2447-2448) ญี่ปุ่นก็ได้อำนาจปกครองไต้หวัน เกาหลี และตอนใต้ของเกาะซาคาลิน[37]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ฝ่ายไตรภาคี ผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตต่อไปอีก ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายขยายดินแดนต่อไปโดยการครอบครองแมนจูเรียใน พ.ศ. 2474 และเมื่อถูกนานาชาติประณามในการครอบครองดินแดนนี้ ญี่ปุ่นก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในสองปีต่อมา[38] ในปี 1936 ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลกับนาซีเยอรมนี และเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในปี 1941[39]


ระเบิดนิวเคลียร์แฟทแมนที่ถูกทิ้งลงนะงะซะกิในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ สงครามมหาเอเชียบูรพา) ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และการยาตราทัพเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจากยุทธนาวีแห่งมิดเวย์ (พ.ศ. 2485) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ (ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามลำดับ) และการรุกรานของสหภาพโซเวียต (วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2488) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน[40] สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งพลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ

ใน พ.ศ. 2490 ญี่ปุ่นเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเน้นเรื่องประชาธิปไตยอิสระ การควบคุมญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกใน พ.ศ. 2499[41] และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 1956[42] หลังจากสงครามญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่การเติบโตก็หยุดในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2530 เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังฟองสบู่แตก[43] เศรษฐกิจที่ถดถอยต่อเนื่องยาวนานกว่าสิบปีมีทีท่าว่าจะฟื้นตัวขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 26[44] แต่กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินใน พ.ศ. 2551[45]

[แก้] การเมืองการปกครอง วิกิซอร์ซ มีเนื้อหาต้นฉบับเกี่ยวกับ:
รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น


สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศ โดยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐ[46] อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่กับนายกรัฐมนตรีและสมาชิกอื่น ๆ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของชาวญี่ปุ่น[46] พระจักรพรรดิทรงทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐในพิธีการทางการทูต พระองค์ปัจจุบันคือจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ส่วนรัชทายาทคือมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ


อาคารสภานิติบัญญัติแห่งญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว
ศาลสูงสุดของญี่ปุ่นองค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: 国会 Kokkai ?) หรือที่เรียก "ไดเอ็ต" เป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ญี่ปุ่น: 衆議院 Shugi-in ?) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และมนตรีสภา (ญี่ปุ่น: 参議院 Sangi-in ?) เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไป[47] พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรครัฐบาลมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน พ.ศ. 2498[48] จนในปี พ.ศ. 2552 พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยเสียตำแหน่งพรรครัฐบาลซึ่งครองมายาวนานกว่า 54 ปี[49]

สำหรับอำนาจบริหารนั้น พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกโดยสมาชิกด้วยกันเองให้เป็นหัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายนะโอะโตะ คัง หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น[50]

ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายของจีน และมีพัฒนาการเฉพาะตัวในยุคเอโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประมวลกฎหมายคุจิกะตะโอะซะดะเมะงากิ (ญี่ปุ่น: 公事方御定書) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรปโดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นต้นแบบ เช่นใน พ.ศ. 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งของตน เรียก "มินโป" (ญี่ปุ่น: 民法) โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมันเป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน[51]

กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ (ญี่ปุ่น: 憲法) และบรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา พระจักรพรรดิเป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรเป็นการประกาศใช้ ทั้งนี้ โดยนิตินัยแล้วพระจักรพรรดิไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ส่วนศาลของญี่ปุ่นนั้นแบ่งเป็นสามชั้นจากต่ำขึ้นไป ดังนี้ ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นทั่วไป ศาลแขวง และศาลครอบครัว, ศาลอุทธรณ์ และศาลสูงสุด ส่วนกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก "รปโป" (ญี่ปุ่น: 六法) มีสภาพเป็นประมวลกฎหมายที่สำคัญหกฉบับ

[แก้] นโยบายต่างประเทศและการทหาร
ยะซุโอะ ฟุกุดะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชญี่ปุ่นรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางทหารกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรหลัก โดยมีความร่วมมือทางความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นเสาหลักของนโยบายต่างประเทศ[52] ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 1956 ได้เป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ รวม 9 ครั้ง[53] (ล่าสุดเมื่อปี 2005-2006) [54] และยังเป็นหนึ่งในกลุ่ม G4 ซึ่งมุ่งหวังจะเข้าเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง ญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกของ จี 8และเอเปค มีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศและกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญทั่วโลก[53][55] นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) รายใหญ่ของโลก โดยบริจาค 7.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2007[56] จากการสำรวจของบีบีซีพบว่านอกจากประเทศจีนและเกาหลีใต้แล้ว ประเทศส่วนใหญ่มองอิทธิพลของญี่ปุ่นที่มีต่อโลกในเชิงบวก[57]

ญี่ปุ่นมีปัญหาข้อพิพาทเรื่องสิทธิในดินแดนต่าง ๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กับรัสเซียเรื่องเกาะคูริล กับเกาหลีใต้เรื่องหินลีอังคอร์ท (หรือทะเกะชิมะ ในภาษาญี่ปุ่น) กับจีนและไต้หวันเรื่องเกาะเซงกากุ[58] กับจีนเรื่องเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบ ๆ โอะกิโนะโทะริชิมะ[59] เป็นต้น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังคงมีปัญหากับเกาหลีเหนือกรณีการลักพาตัวชาวญี่ปุ่นและเรื่องการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องเกาะคูริล ในทางกฎหมายแล้วญี่ปุ่นยังคงทำสงครามอยู่กับรัสเซีย เพราะไม่เคยมีการลงนามในข้อตกลงใด ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้[60]


มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2489) บัญญัติว่า

1. โดยที่มีความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติโดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนานโดยให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ กับทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ
2. เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่น ๆ ในทางสงคราม ไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม


สำหรับกองทัพญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหม(เดิมชื่อทบวงป้องกันตนเองในปี2005ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหมในปีนั้น) และประกอบด้วยกองกำลังป้องกันตนเองทางบก กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล และ กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ กองกำลังของญี่ปุ่นถูกส่งไปเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศอิรักใน พ.ศ. 2547-2549 ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติการของกองทัพในต่างประเทศครั้งแรกตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่ 2[61] อย่างไรก็ตาม การส่งกองกำลังไปยังอิรักนี้ถูกต่อต้านจากประชาชนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก[62]

[แก้] ความสัมพันธ์กับประเทศไทยดูบทความหลักที่ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นและไทยมีความสัมพันธ์มายาวนานกว่า 600 ปี ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2430[63] ความร่วมมือระหว่างกันของทั้งสองประเทศครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศเติบโตขึ้นจากการขยายตัวกิจการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยนับแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค่าเงินเยนแข็งตัวขึ้นในพุทธทศวรรษที่ 2520) การลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยนับเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย (รองจากจีน) [64] และทำให้มีชาวญี่ปุ่นมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก[65] ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทย[64] ทั้งสองประเทศมีการทำข้อตกลงทวิภาคีหลายข้อ เช่นข้อตกลงความร่วมมือทางเทคโนโลยี (JTPP: Japan- Thailand Partnership Programme in Technical Cooperation) การจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA:Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) [66] เป็นต้น จากการสำรวจความคิดเห็นในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศที่จัดทำในเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 โดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น พบว่าคนไทยร้อยละ 98 เห็นว่าญี่ปุ่นคือมิตรประเทศ[63]

[แก้] การแบ่งเขตการปกครองญี่ปุ่นแบ่งการปกครองออกเป็น 47 จังหวัด[67] และ แบ่งภาคออกเป็น 8 ภูมิภาค ซึ่งมักจะถูกจับเข้ากลุ่มตามเขตแดนที่ติดกันที่มีวัฒนธรรมและสำเนียงการพูดใกล้เคียงกัน ทุกจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหาร

ในแต่ละจังหวัดมีการแบ่งเขตย่อยลงไปเป็นเมืองและหมู่บ้าน[68] แต่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับโครงสร้างการแบ่งเขตการปกครองโดยการรวมเขตย่อยที่อยู่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเขตการปกครองย่อยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเขตลงได้[69] การรวมเขตการปกครองนี้เป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยมีการคาดการณ์ที่จะลดจาก 3,232 เขตใน พ.ศ. 2542 ให้เหลือ 1,773 เขตใน พ.ศ. 2553[70]

ประเทศญี่ปุ่นมีเมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป

ฮกไกโด โทโฮะกุ คันโต จูบุ
1. ฮกไกโด

2. อะโอะโมะริ
3. อิวะเตะ
4. มิยะงิ
5. อะกิตะ
6. ยะมะงะตะ
7. ฟุกุชิมะ

8. อิบะระกิ
9. โทะจิงิ
10. กุนมะ
11. ไซตะมะ
12. จิบะ
13. โตเกียว
14. คะนะงะวะ

15. นิอิงะตะ
16. โทะยะมะ
17. อิชิกะวะ
18. ฟุกุอิ
19. ยะมะนะชิ
20. นะงะโนะ
21. กิฟุ
22. ชิซึโอะกะ
23. ไอจิ


คันไซ จูโงะกุ ชิโกะกุ คีวชู และ โอะกินะวะ
24. มิเอะ
25. ชิงะ
26. เกียวโตะ
27. โอซะกะ
28. เฮียวโงะ
29. นะระ
30. วะกะยะมะ

31. ทตโตะริ
32. ชิมะเนะ
33. โอะกะยะมะ
34. ฮิโระชิมะ
35. ยะมะงุจิ

36. โทะกุชิมะ
37. คะงะวะ
38. เอะฮิเมะ
39. โคจิ

40. ฟุกุโอะกะ
41. ซะงะ
42. นะงะซะกิ
43. คุมะโมะโตะ
44. โออิตะ
45. มิยะซะกิ
46. คะโงะชิมะ
47. โอะกินะวะ






[แก้] เมืองที่มีประชากรมากที่สุดของญี่ปุ่น 14 อันดับแรกอันดับ เมือง จังหวัด ประชากร อันดับ เมือง จังหวัด ประชากร

เมืองซัปโปะโระ

เกียวโต
1 โตเกียว โตเกียว 8,483,050 8 ฟุกุโอะกะ ฟุกุโอะกะ 1,450,149
2 โยะโกะฮะมะ คะนะงะวะ 3,579,133 9 คะวะซะกิ คะนะงะวะ 1,327,009
3 เมืองโอซะกะ โอซะกะ 2,628,776 10 ไซตะมะ ไซตะมะ 1,176,269
4 นะโงะยะ ไอจิ 2,215,031 11 ฮิโระชิมะ ฮิโระชิมะ 1,159,391
5 ซัปโปะโระ ฮกไกโด 1,880,875 12 เซนได มิยะงิ 1,028,214
6 โกเบ จังหวัดเฮียวโงะ 1,525,389 13 คิตะกีวชู ฟุกุโอะกะ 993,483
7 เกียวโตะ เคียวโตะ 1,465,917 14 ชิบะ ชิบะ 924,353
ข้อมูลปี 2548

หมายเหตุ:ข้อมูลไม่รวมเขตปริมณฑล
[แก้] ภูมิศาสตร์
แผนที่ประเทศญี่ปุ่น
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นแสดงป่าไม้และเทือกเขาประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นหมู่เกาะซึ่งมีจำนวนมากกว่า 3,000 เกาะวางตัวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกของทวีปเอเชีย เกาะที่สำคัญเรียงจากเหนือไปใต้ได้แก่ฮกไกโด ฮนชู ชิโกกุ และคีวชู นอกจากนี้ยังมีหมู่เกาะริวกิวทางตอนใต้ของเกาะคีวชู ซึ่งเกาะทั้งหมดนี้เรียกรวมกันว่าหมู่เกาะญี่ปุ่น ญี่ปุ่นถูกล้อมรอบด้วยทะเลทุกด้าน ได้แก่ทะเลโอคอตสค์ทางเหนือ ทะเลญี่ปุ่นทางตะวันตก ทะเลจีนตะวันออกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลฟิลิปปินส์ทางใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก พื้นที่ประมาณร้อยละ 70 เป็นภูเขา[71] ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำการเพาะปลูกได้ เพราะมีลักษณะสูงชันและมีโอกาสที่จะเกิดดินถล่มจากแผ่นดินไหวหรือฝนที่ตกหนัก ประชากรญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งอย่างหนาแน่น และทำให้เมืองสำคัญในญี่ปุ่นมีประชากรหนาแน่นมาก[72] ใน พ.ศ. 2548 ญี่ปุ่นมีป่าไม้ร้อยละ 66.4 พื้นที่ทางการเกษตรร้อยละ 12.6 อาคารร้อยละ 4.9 พื้นน้ำร้อยละ 3.5 ถนนร้อยละ 3.5 และอื่น ๆ ร้อยละ 9[73]

ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น[74] ทำให้เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงต่ำบ่อย ๆ[75] และยังมีแผ่นดินไหวความรุนแรงสูงที่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหลายครั้งในศตวรรษที่ผ่านมา[76] เช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิน-อะวะจิ ใน พ.ศ. 2537 และแผ่นดินไหวชูเอะสึจังหวัดนีงาตะ ใน พ.ศ. 2547 เป็นต้น นอกจากนี้ การที่ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ ยังทำให้ญี่ปุ่นมีบ่อน้ำพุร้อนจำนวนมากทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว[77] ภูเขาฟูจิซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่นก็เป็นภูเขาไฟ

หมู่เกาะญี่ปุ่นวางตัวยาวในแนวเหนือใต้ จึงทำให้มีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ประเทศญี่ปุ่นสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศออกเป็น 6 เขต คือ

ฮกไกโด: พื้นที่ตอนเหนือสุดของประเทศมีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี แม้จะมีหยาดน้ำฟ้าไม่มาก แต่ในฤดูหนาวก็มีหิมะปกคลุมทั่วทั้งเกาะ
ทะเลญี่ปุ่น: ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลทางตะวันตกของเกาะฮนชู ลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดผ่านในช่วงฤดูหนาวทำให้มีหิมะตกมาก ในช่วงฤดูร้อนอากาศมักจะเย็นกว่าฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แม้ว่าบางครั้งจะเกิดปรากฏการณ์เฟห์นที่ทำให้อากาศร้อนมากผิดปกติ[78]
ที่สูงตอนกลาง: อุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวและระหว่างกลางวันและกลางคืนมีความแตกต่างมาก
ทะเลเซะโตะ: ภูเขาบริเวณจูโงะกุและชิโกะกุช่วยป้องกันบริเวณทะเลเซะโตะจากลมฤดูต่าง ๆ ทำให้บริเวณนี้มีอากาศอบอุ่นและมีฝนตกน้อยตลอดทั้งปี[79]
ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก: ตั้งอยู่ชายฝั่งมหาสมุทรทางตะวันออกของประเทศ ในฤดูหนาวมีอากาศที่หนาวเย็นแต่ไม่ค่อยมีหิมะตก ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนและชื้นเพราะลมตะวันออกเฉียงใต้
หมู่เกาะตะวันตกเฉียงใต้: หมู่เกาะริวกิวมีอุณหภูมิกึ่งเขตร้อน คืออากาศอุ่นในฤดูหนาวและร้อนในฤดูร้อน มีฝนตกมากและมีไต้ฝุ่นผ่านมาในช่วงเปลี่ยนฤดู
ฤดูฝนหลักเริ่มต้นขึ้นในต้นเดือนพฤษภาคมที่โอะกินะวะ และจึงค่อย ๆไต่ขึ้นไปจนถึงฮกไกโดในปลายเดือนกรกฎาคม บนเกาะฮนชูฤดูฝนจะเริ่มในกลางเดือนของเดือนมิถุนายน มีระยะเวลาประมาณเดือนครึ่ง และในช่วงปลายฤดูร้อนจนถึงต้นฤดูใบไม้ร่วงมักมีไต้ฝุ่นพัดผ่าน โดยเฉลี่ยจะมีไต้ฝุ่นพัดเข้าใกล้ญี่ปุ่นปีละ 11 ลูก[80]

[แก้] เศรษฐกิจ
ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการแทรกแซงของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง[81] ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ[82] ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 [83] สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก[45][84] แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น[85] แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[86]

ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก[87] รองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) [87] และอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อ[88] ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี[89]

จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคน[90] ญี่ปุ่นมีอัตราว่างงานที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4[90] ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย[91] บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่นโตโยต้า โซนี่ เอ็นทีที โดโคโม แคนนอน ฮอนด้า ทาเคดา นินเทนโด นิปปอน สตีล และ เซเว่น อีเลฟเว่น ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่ง[92] ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะดัชนีนิเคอิมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วยมูลค่าตลาด[93]

ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง เช่นเคเระสึหรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ การจ้างงานตลอดชีวิตและการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน[94] ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท[95] แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้[96][95]

ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6[97] และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6[98]เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ[99][100] ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น

[แก้] โครงสร้างพื้นฐาน
โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อิกะตะ
รถไฟชินกันเซ็นหรือรถไฟหัวกระสุนซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีเดินทางที่แพร่หลายในญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2548 ร้อยละ 50 ของพลังงานที่ใช้ในญี่ปุ่นผลิตจากปิโตรเลียม ร้อยละ 20 จากถ่านหิน ร้อยละ 14 จากก๊าซธรรมชาติ[101] การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปริมาณหนึ่งในสี่ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด[101] ซึ่งญี่ปุ่นต้องการจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในทศวรรษหน้า

ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง เช่นกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบัน รถไฟชินกันเซ็นซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา[102]

การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมและมีสนามบิน 173 แห่งทั่วประเทศ สนามบินฮาเนดะที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่หนาแน่นที่สุดในเอเชีย[103] สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่สนามบินนาริตะ สนามบินคันไซ และสนามบินนานาชาตินาโงยา แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง[104] สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ[105]

[แก้] วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หุ่นยนต์อาซิโมของฮอนด้า
โตโยต้า คราวน์ ไฮบริด
โมดูลคิโบขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก[106] ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก[107] และจากการสำรวจของโออีซีดีพบว่าใน พ.ศ. 2547 ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรต่อจำนวนประชากรสูงที่สุดในโลก[108] ตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหว หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก[109] เป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด[110] ญี่ปุ่นใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิตมากที่สุดในโลก[111]และเป็นผู้นำในการผลิตและใช้งานหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีอัตราการใช้หุ่นยนต์ต่อจำนวนแรงงานคนสูงที่สุดในโลก[111] ญี่ปุ่นยังเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ เช่น QRIO และอาซิโมอีกด้วย

ญี่ปุ่นยังเป็นหนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริดของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียน้อยที่สุด[112][113] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบไฮบริด เชื้อเพลิงชีวภาพ การใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาลง และการออกแบบที่ดีขึ้น ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้านเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก[108]และเคยเป็นประเทศผู้ผลิตเซลล์สุริยะและกังหันลมผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของโลก[114] แต่เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากรัฐทำให้จำนวนการนำไปใช้จริงน้อยกว่าประเทศแถบยุโรป เช่นเยอรมนี[115]

องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติและโมดูลคิโบ มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วยกระสวยอวกาศใน พ.ศ. 2552[116]

[แก้] ประชากร
โทริอิของศาลเจ้าอิสึกุชิมะซึ่งเป็นศาลเจ้าลัทธิชินโตจากการสำรวจใน พ.ศ. 2548 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127.77 ล้านคน[117] ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน โดยมีชาวต่างชาติ เช่นชาวเกาหลี จีน บราซิล ฟิลิปปินส์ และชาติอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่[118] เชื้อชาติส่วนใหญ่คือเชื้อสายชาวยะมะโตะ และมีชนกลุ่มน้อยเช่นชาวไอนุและชาวริวกิว รวมทั้งชนกลุ่มน้อยทางสังคมที่เรียกว่าบุระกุ[119]

ประชากรญี่ปุ่นมีอายุคาดหมายเฉลี่ยประมาณ 82.07 ปี จึงนับเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก[120] โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเด็กที่เกิดมาในยุคเบบี้บูมหลังสงครามโลกเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่อัตราการเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2532 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ[121] จึงทำให้จำนวนประชากรค่อย ๆ ลดลง (มีการประมาณว่าจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25[121]) ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ในปี พ.ศ. 2548 ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด[122]) การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่าง เช่นปัญหาแรงงานที่ลดลง และภาระเงินบำนาญของคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น[123]

จากการสำรวจพบว่าคนญี่ปุ่นร้อยละ 51.8 ระบุว่าตนไม่มีศาสนา[124] ศาสนาในญี่ปุ่นถูกผสมผสานจนทำให้พิธีกรรมทางศาสนานั้นมีความหลากหลาย เช่นพ่อแม่พาลูกไปศาลเจ้าชินโตเพื่อทำพิธีชิจิ-โกะ-ซัน แต่งงานในโบสถ์คริสต์และฉลองในวันคริสต์มาส จัดงานศพแบบพุทธ และบูชาบรรพบุรุษแบบขงจื๊อ นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตววรษที่ 25 มีลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่นลัทธิเทนริเกียว และลัทธิโอมชินริเกียว

ประชากรมากกว่าร้อยละ 95 ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่[125] ภาษาญี่ปุ่นมีวิธีการผันคำกริยาและคำศัพท์ที่แสดงถึงสถานะระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งแสดงถึงลักษณะสังคมที่มีระดับขั้นของญี่ปุ่น ภาษาพูดนั้นมีทั้งภาษากลางและสำเนียงของแต่ละท้องถิ่น เช่นสำเนียงคันไซ โรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชนมักมีวิชาภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับ[126]

[แก้] จำนวนประชากร
แยกชิบุยะ ถนนที่มีผู้สัญจรมากที่สุดในโตเกียว
โดตอมโบะริ เมืองโอซะกะดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่รายชื่อเมืองในญี่ปุ่นเรียงตามจำนวนประชากร และ จำนวนประชากรญี่ปุ่นแยกตามจังหวัด

รายชื่อเมืองใหญ่เรียงตามจำนวนประชากร 15 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ย. 2552) [127]

ที่ เมือง จังหวัด ประชากร
(ลงทะเบียน/คน) ประชากร
(โดยประมาณ/คน)
1 โตเกียว
(เฉพาะ 23 เขตปกครองพิเศษ) โตเกียว 8,489,653 8,806,037
2 โยะโกะฮะมะ คะนะงะวะ 3,579,628 3,673,094
3 โอซะกะ โอซะกะ 2,628,811 2,663,096
4 นะโงะยะ ไอจิ 2,215,062 2,258,767
5 ซัปโปะโระ ฮกไกโด 1,880,863 1,890,857
(ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2552)
6 โคเบะ เฮียวโงะ 1,525,393 1,537,515
7 เกียวโตะ เกียวโตะ 1,474,811 1,466,042
8 ฟุกุโอะกะ ฟุกุโอะกะ 1,401,279 1,452,530
9 คะวะซะกิ คะนะงะวะ 1,327,011 1,410,395
10 ไซตะมะ ไซตะมะ 1,176,314 1,213,348
11 ฮิโระชิมะ ฮิโระชิมะ 1,154,391 1,171,132
12 เซนได มิยะงิ 1,025,098 1,034,334
13 คิตะกีวชู ฟุกุโอะกะ 993,525 983,080
14 จิบะ จิบะ 924,319 956,161
15 ซะไก โอซะกะ 830,966 838,177

[แก้] การศึกษาดูบทความหลักที่ การศึกษาของญี่ปุ่น

มหาวิทยาลัยโตเกียวซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นระบบการศึกษาในระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษาถูกนำมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเมจิ [128] ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 การศึกษาภาคบังคับของญี่ปุ่นมีระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่ประถมศึกษาจนจบมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อ จากข้อมูลของกระทรวงการศึกษาของญี่ปุ่น (MEXT) ใน พ.ศ. 2547 พบว่าร้อยละ 75.9 ของผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะเรียนต่อในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ [129] การศึกษาในญี่ปุ่นเต็มไปด้วยการแข่งขัน[130] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอบเข้าเพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย[131] โครงการประเมินผลการศึกษานานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) ซึ่งจัดขึ้นโดยโออีซีดี จัดอันดับให้เด็กญี่ปุ่นมีความรู้และทักษะเป็นอันดับ 6 ของโลก[132] มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น เช่น มหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเคโอ และ มหาวิทยาลัยเกียวโต เป็นต้น

[แก้] การรักษาพยาบาลคุณภาพของระบบรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นมีระดับที่สูงมาก เห็นได้จากอายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรที่สูงและอัตราการตายของทารกที่ต่ำ[133] รัฐบาลกำหนดให้ประชาชนทุกคนทำประกันสุขภาพ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือประกันสำหรับพนักงานบริษัท และประกันที่ทำกับรัฐบาลท้องถิ่น[134] ผู้ป่วยสามารถเลือกแพทย์หรือสถานที่รักษาได้โดยอิสระ[135] ผู้สูงอายุของญี่ปุ่นทั้งหมดได้รับการคุ้มครองด้วยประกันของรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2516[136] แต่ปัจจุบันรัฐบาลต้องปรับระบบประกันเปล่านี้เพื่อรองรับโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป[133]

[แก้] วัฒนธรรมวัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น อิเกะบะนะ (การจัดดอกไม้) โอะริงะมิ อุกิโยะ-เอะ[137] ตุ๊กตา เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิ โน บุนระกุ[137] ระกุโงะ และประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น พิธีชงชา ศิลปการต่อสู้ สถาปัตยกรรม การจัดสวน ดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์มังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น[138] แอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523[139]

[แก้] ดนตรี
การเล่นโคะโตะดนตรีญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น บิวะ โคะโตะ ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7[140] และชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21[140] ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-ป็อป[141] ญี่ปุ่นมีนักดนตรีคลาสสิคที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น วาทยากร เซจิ โอะซะวะ[142] นักไวโอลิน มิโดะริ โกะโต[143] เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟนทั่วไปในญี่ปุ่น[144]

[แก้] วรรณกรรม
ภาพจากเรื่องตำนานเกนจิวรรณกรรมญี่ปุ่นชิ้นแรกได้แก่หนังสือประวัติศาสตร์ที่ชื่อ โคะจิกิ และ นิฮงโชะกิ[145] และหนังสือบทกวีสมัยศตวรรษที่ 8 ที่ชื่อ มังโยชู ซึ่งเขียนด้วยภาษาจีนทั้งหมด[146] ในช่วงต้นของยุคเฮอัง มีการสร้างระบบการเขียนแทนเสียงที่เรียกว่า คะนะ (ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ) นิทานคนตัดไม้ไผ่ ถูกพิจารณาว่าเป็นงานที่เก่าแก่ที่สุดที่เขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น[145] ตำนานเกนจิ ที่เขียนโดยมุระซะกิ ชิกิบุมักถูกเรียกว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของโลก[147] ระหว่างยุคเอโดะ วรรณกรรมไม่อยู่ในความสนใจของซามูไรเท่ากับ โชนิน ชนชั้นประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่น โยะมิฮง กลายเป็นที่นิยมและเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ในสมัยเมจิ วรรณกรรมดั้งเดิมได้เสื่อมสลายลง ขณะที่วรรณกรรมญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น[148] โซเซะกิ นะสึเมะและโองะอิ โมริเป็นนักแต่งนิยายสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่น[148] ตามมาด้วย ริวโนะซุเกะ อะคุตะกะวะ, ทะนิซะกิ จุนอิชิโระ, คาวาบาตะ ยาสุนาริ, มิชิมะ ยุกิโอะ และล่าสุด ฮารูกิ มุราคามิ[149] ญี่ปุ่นมีนักเขียนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 2 คน ได้แก่ คาวาบาตะ ยาสุนาริ (พ.ศ. 2511) [150] และ เค็นซะบุโร โอเอะ (พ.ศ. 2537) [151]

[แก้] กีฬา
การแข่งขันซูโม่ในเรียวโงกุ โคกุงิกัง ใน โตเกียวหลังจากการปฏิรูปเมจิ กีฬาตะวันตกก็เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นและแพร่หลายไปทั่วประเทศด้วยระบบการศึกษา[152] ในญี่ปุ่น กีฬานับเป็นกิจกรรมยามว่างที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยพัฒนาวินัย การเคารพกฎกติกา และช่วยสั่งสมน้ำใจนักกีฬา ชาวญี่ปุ่นทุกวัยให้ความสนใจกับกีฬาทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เล่น[152] กีฬาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ได้แก่

ซูโม่เป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นที่มีประวัติอันยาวนาน[153] และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น ศิลปะป้องกันตัวของญี่ปุ่น เช่น ยูโด คาราเต้ และเคนโด้ ก็เป็นกีฬาที่มีผู้เล่นและผู้ชมมากเช่นเดียวกัน
การแข่งขันเบสบอลอาชีพในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2479[154] มี 2 ลีก คือเซ็นทรัลลีกและแปซิฟิกลีก ในปัจจุบันเบสบอลเป็นกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในประเทศ ในระหว่างฤดูกาลการแข่งขัน จะมีการถ่ายทอดการแข่งขันเกือบทุกคืนและมีอัตราผู้ชมรายการที่สูง[152] นักเบสบอลญี่ปุ่นที่โด่งดังที่สุดคือ อิจิโร ซุซุกิ และ ฮิเดะกิ มัตซุย [149]
ตั้งแต่มีการก่อตั้งลีกฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่น ใน พ.ศ. 2535 ฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมมากขึ้น[155] ญี่ปุ่นเป็นสถานที่จัดฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2547 และเป็นเจ้าภาพร่วมกับเกาหลีใต้ในการแข่งฟุตบอลโลก 2002 ทีมฟุตบอลญี่ปุ่นเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในเอเชีย สามารถชนะเลิศเอเชียนคัพ 3 ครั้ง
[แก้] อาหาร
อาหารเช้าแบบโรงแรมญี่ปุ่นชาวญี่ปุ่นกินข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ซูชิ เทมปุระ สุกียากี้ ยากิโทริและโซบะ[156] อาหารญี่ปุ่นหลายอย่างดัดแปลงจากอาหารต่างประเทศ เช่นทงคัตสึ ราเม็งและแกงกะหรี่ญี่ปุ่น[157] อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศเพราะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าในปี 2006 มีร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 20,000 แห่งทั่วโลก[157]

ชาวญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบจึงทำให้มีอาหารประจำท้องถิ่น[158]และอาหารประจำฤดู[159] วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในอาหารญี่ปุ่นคือถั่วเหลือง ซึ่งนำมาทำโชยุ มิโสะ เต้าหู้[160] ถั่วแดงซึ่งมักนำมาทำขนม และสาหร่ายชนิดต่าง ๆ เช่นคอมบุ นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังนิยมกินซะชิมิหรืออาหารทะเลดิบอีกด้วย[161]

ชาในญี่ปุ่นมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างไปตามกรรมวิธีการผลิตและส่วนผสม[162] เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่นคือเหล้าสาเก (หรือนิฮงชุ ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งผลิตโดยใช้วิธีหมักข้าว[163] และโชชูซึ่งเป็นเหล้าที่เกิดจากการกลั่น[164]

ประเทศจีน


สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國; จีนตัวย่อ: 中华人民共和国; พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó; อังกฤษ: People's Republic of China (PRC)) หรือที่รู้จักในชื่อ จีน เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1.3 พันล้านคน ประเทศจีนตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออก เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประเทศจีนแแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า มีเมืองหลวงอยู่ที่ปักกิ่ง

ด้วยพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ขึ้นอยู่กับการนิยามว่าดินแดนอะไรนับรวมเข้าไปด้วย และเป็นประเทศที่มีพื้นที่บนบกมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก[11] ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือใกล้กับมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น

อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ[12] เป็นเวลานานกว่า 6,000 ปี ระบบการเมืองของจีนตั้งอยู่บนการปกครองแบบราชาธิปไตย จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1911 ด้วยการสถาปนาสาธารณรัฐจีนโดยพรรคก๊กมินตั๋ง พรรคชาตินิยมจีน ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น เป็นยุคสมัยแห่งความแตกแยกและสงครามกลางเมืองซึ่งแบ่งประเทศออกเป็นค่ายการเมืองสองค่ายหลัก คือ ก๊กมินตั๋งและคอมมิวนิสต์ ความเป็นปฏิปักษ์ส่วนใหญ่สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1949 เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ชนะสงครามกลางเมืองและสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนไต้หวัน ซึ่งอยู่ภายใต้การนำของก๊กมินตั๋งนั้น ได้ย้ายเมืองหลวงไปยังไทเปบนเกาะไต้หวัน นับแต่นั้นมา สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีนเหนือปัญหาอธิปไตยและสถานะทางการเมืองของไต้หวัน

นับตั้งแต่การปฏิรูปเศรษฐกิจซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนตลาดเมื่อปี ค.ศ. 1978 ประเทศจีนได้กลายมาเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจสำคัญที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก[13] โดยเป็นผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก และเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกทั้งในด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศราคาตลาดและความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ[14] ตลอดจนเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประเทศจีนได้รับการจัดให้เป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ประเทศจีนถูกจัดว่ามีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจของโลกโดยนักวิเคราะห์วิชาการ[15] นักวิเคราะห์การทหาร[16] ตลอดจนนักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและเศรษฐกิจ[17


ประวัติศาสตร์


การสู้รบส่วนใหญ่ในสงครามกลางเมืองจีนยุติลงในปี พ.ศ. 2492 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ และพรรคก๊กมินตั๋งต้องล่าถอยไปยังเกาะไต้หวัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตุงประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน[18] หรือที่เรียกว่า "จีนคอมมิวนิสต์" หรือ "จีนแดง"[19]

แผนเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า นโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ล้านคน[20] ใน พ.ศ. 2509 เหมาและพันธมิตรทางการเมืองได้เริ่มการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งกินเวลาจนกระทั่งเหมาถึงแก่อสัญกรรมในอีกหนึ่งทศวรรษถัดมา การปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากการแย่งชิงอำนาจภายในพรรคและความกลัวสหภาพโซเวียต นำไปสู่ความวุ่นวายครั้งใหญ่ในสังคมจีน ใน พ.ศ. 2505 ช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวีตยเลวร้ายลงมากที่สุด เหมาและโจว เอินไหล พบกับริชาร์ด นิกสันในกรุงปักกิ่งเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกันนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแทนที่สาธารณรัฐจีน และเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

หลังจากเหมาถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2519 และการจับกุมตัวแก๊งออฟโฟร์ ซึ่งถูกประณามว่าเป็นผู้ที่ใช้อำนาจหน้าที่เกินกว่าเหตุระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เติ้ง เสี่ยวผิงได้แย่งชิงอำนาจจากทายาททางการเมืองที่เหมาวางตัวไว้ หัว กั๋วเฟิง อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นประธานพรรคหรือประมุขแห่งรัฐ ในทางปฏิบัติแล้ว เติ้งเป็นผู้นำสูงสุดของจีนในเวลานั้น อิทธิพลของเขาภายในพรรคนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ หลังจากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ได้ผ่อนปรนการควบคุมเหนือชีวิตประจำวันของพลเมืองและคอมมูนถูกยุบโดยชาวนาจำนวนมากได้รับที่ดินเช่า ซึ่งได้เป็นการเพิ่มสิ่งจูงใจและผลผลิตทางเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง เหตุการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงจีนจากระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลางมาเป็นเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งมีสภาพเป็นตลาดเปิดเพิ่มมากขึ้น หรือที่บางคนเรียกว่า "ตลาดสังคมนิยม"[21] และพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เรียกมันอย่างเป็นทางการว่า "สังคมนิยมที่เป็นลักษณะเฉพาะของจีน" สาธารณรัฐประชาชนจีนใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525

ในปี พ.ศ. 2532 การเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ทางการผู้สนับสนุนการปฏิรูป หู ย่าวปัง เป็นการจุดชนวนการชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 อย่างไรก็ตาม การชุมนุมดังกล่าวถูกปราบปรามลงเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานอย่างกว้างขวางและนำไปสู่การประณามและการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลจีน[22][23]

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน และนายกรัฐมนตรีจู หรงจี้ สองอดีตนายกเทศมนตรีเซี่ยงไฮ้ เป็นผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีนภายหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ภายใต้การบริหารงานเป็นระยะเวลาสิบปีของทั้งสอง สมรรถนะทางเศรษฐกิจของจีนได้ช่วยยกระดับฐานะของชาวนาประมาณ 150 ล้านคนขึ้นจากความยากจนและรักษาอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไว้ที่ 11.2% ต่อปี[24][25] จีนเข้าร่วมกับองค์การการค้าโลกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2544

ถึงแม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจีนได้เริ่มวิตกกังวลว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนี้จะมีผลกระทบในด้านลบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศ อีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความกังวลคือบางภาคส่วนของสังคมไม่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเพียงพอ ตัวอย่างหนึ่งคือช่องว่างใหญ่ระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท ดังนั้น ภายใต้เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดปัจจุบัน ประธานาธิบดีหู จินเทา และนายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่า สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เริ่มดำเนินนโยบายเพื่อที่จะหยิบยกประเด็นปัญหาของการแจกจ่ายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม แต่ผลที่ออกมานั้นยังสามารถพบเห็นได้[26] ชาวนามากกว่า 40 ล้านคนถูกบังคับให้ย้ายออกจากที่ดินของตน[27] ซึ่งเป็นเหตุปกติธรรมดาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงและการจลาจลกว่า 87,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2548[28] สำหรับประชากรส่วนใหญ่ของจีนแล้ว มาตรฐานการดำเนินชีวิตมองเห็นได้ว่ามีการพัฒนาอย่างมาก และเริ่มมีเสรีภาพมากขึ้น แต่การควบคุมทางการเมืองยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เช่นเดียวกับความยากจนในชนบท[29]