วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
การเลี้ยงกุ้ง
กุ้งขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Litopenaeus vannamei) มีลำตัวขาวใส ขามีสีขาว หางสีแดง โดยเฉพาะบริเวณปลายหางจะมีสีแดงเข้ม กรีจะมีแนวตรงปลายงุ้มลงเล็กน้อย เมื่อโตขึ้นฟันกรีด้านบนจะมี 8 ฟัน และด้านล่าง 2 ฟัน ความยาวของกรี จะยาวกว่าลูกตาไม่มาก ที่สังเกตเห็นเด่นชัดที่สุดคือลำไส้ของกุ้งชนิดนี้จะโตเห็นได้ชัด และตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้
การค้นพบ
กุ้งขาวลิโทพีเนียส แวนนาไม หรือที่เรียกกันว่า "กุ้งขาว หรือ กุ้งแวนนาไม" นั้นค้นพบโดย Boone ในปี ค.ศ. 1931 มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Litopenaeus Vannamei (Boone,1931) ส่วนชื่อทาง F.A.O. รับรองเป็นภาษาอังกฤษ Whiteleg shrimp ชื่อภาษาฝรั่งเศส Crevette pattes blanches ชื่อภาษาสเปน Camaron patiblance ส่วนชื่อสามัญและชื่อทางการค้ามีเรียกกันหลายชื่อตามแหล่งที่พบ หรือ ตามลักษณะเด่นทางกายภาพที่ปรากฏให้เห็น เป็นภาษาต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อภาษาอเมริกัน West coast white shrimp หรือ Whiteleg shrimp ชื่อภาษาเม็กซิกัน Camaron blanco ชื่อภาษาโคลัมเบีย Camaron caf? หรือ Camaron blanco ชื่อภาษาเปรู Camoron blanco หรือ Langostino ปัจจุบันการผลิตกุ้งในโลกได้มาจาก 6 สายพันธุ์หลัก คือกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (65%) กุ้งขาวลิโทพีเนียสแวนนาไม Litopenaeus vannamei (14%) กุ้งแซบ๊วย Penaeus indicus (1%) กุ้งน้ำตาลออสเตรเลีย Metapenaeis endeavovre (2%) ที่เหลือเป็นของสายพันธุ์ Penaeus อื่น ๆ (7%) เช่น กุ้งขาวจีน Penaeus Chinensis และสายพันธุ์ Metapenaeus อื่น ๆ (4%) ซึ่งเป็นกุ้งขาวถึง 4 สายพันธุ์ ทั้งนี้ สามารถจัดแบ่งกลุ่มของกุ้งขาสในสายพันธุ์พีเนียสออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ตามถิ่นที่อยู่อาศัยของซีกโลก คือกุ้งขาวตะวันตก (Western coast white shrimp) ได้แก่ กุ้งขาวลิโทพีเนียส แวนนาไม (Litopenaeus vannamei) กุ้งน้ำเงิน (Penaeus stylirostenis) และกุ้งขาวตะวันออก (Eastern coast white shrimp) ได้แก่ กุ้งแชบ๊วย Penaeus merguiensis กุ้งขาวอินเดีย Penaeus indicus และกุ้งขาวจีน Penaeus chinensis หรือ Penaeus orientalis
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น